top of page
Image-empty-state.png

รับมืออย่างไร หากลูกของคุณเป็น โรคปากนกกระจอก

รับมืออย่างไร หากลูกของคุณเป็น โรคปากนกกระจอก

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบว่า การที่ลูกของคุณเป็น “โรคปากนกกระจอก” ไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร่างกายขาดวิตามินเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ลูกเป็นโรคปากนกกระจอกอีกด้วย

คุณหมอจากคลินิกผิวหนังหมอวิรัช จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับโรคปากนกกระจอกให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา อย่างไรบ้างนั้น อ่านได้ในบทความนี้เลย

- โรคปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) คืออะไร -
อาการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณมุมปาก ส่งผลให้ริมฝีปากเกิดอาการบวมแดง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการ 2-3 วัน แต่บางรายอาจจะมีอาการนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยต่างๆ

สาเหตุของโรคปากนกกระจอก
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าสาเหตุของโรคปากนกกระจอกนั้นเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง นอกจากการที่ลูกของคุณขาดวิตามินแล้ว ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ดังนี้

1.ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
ขาดวิตามินบี 9
ขาดวิตามินบี 6
ขาดวิตามินบี 2
ขาดวิตามินบี 3
ขาดสังกะสี
2.เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
3.กลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren’s Syndrome) ภูมิคุ้มกันแบบเรื้อรังที่ทำลายต่อม ซึ่งมีทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื่นกับปากส่งผลให้ปากแห้ง
4.เลียริมฝีปากบ่อย
5.สูบบุหรี่
6.ผิวแพ้ง่าย บอบบาง
7.มีอาการอักเสบอื่นๆ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s Disease)

- การสังเกตุอาการ -
สังเกตลูกให้ชัวร์ อาการแบบนี้ใช่ปากนกกระจอกหรือไม่
เมื่อลูกเป็นโรคปากนกกระจอกจะเริ่มมีอาการเจ็บปาก มีตุ่มหรือมีแผลที่มุมปาก และมีอาการอื่นๆร่วมด้วยดังนี้
1.เกิดอาการระคายเคือง คันบริเวณริมฝีปาก
2.มีรอยแดงและเลือดออกบริเวณมุมปาก
3.มีตุ่มพองบริเวณมุมริมฝีปาก
4.ริมฝีปากแห้งและแตก
5.รู้สึกแสบร้อนบริเวณริมฝีปาก
6.รับประทานอาหารลำบาก
7.เกิดสะเก็ดแผลที่มุมปาก

วิธีการรักษา
สำหรับวิธีการรักษาโรคปากนกกระจอกนั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นกับอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยมีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้
- โรคเบาหวาน หากลูกของคุณเป็นโรคเบาหวานแพทย์อาจใช้วิธีการรักษาด้วยอินซูลินหรือยารักษาโรคเบาหวาน
- ขาดวิตามิน เมื่อลูกเป็นโรคปากนกกระจอกที่เกิดจากสาเหตุร่างกายขาดวิตามิน แพทย์อาจจ่ายยาวิตามินให้รับประทาน
- ยาปฏิชีวนะ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียที่ปาก
- ยาต้านเชื้อรา แพทย์อาจแนะนำยาต้านเชื้อรา เช่น ไนสแตนดิน (Nystatin) ) คีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
- โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ไมโคนาโซล (Miconazole) เป็นต้น

นพ.ภัทร วรวุทธินนท์

bottom of page