top of page
Image-empty-state.png

ผื่นผิวหนังจากการแพ้ยา (Cutaneous drug eruption) หรือผื่นแพ้ยา

ผื่นผิวหนังจากการแพ้ยา (Cutaneous drug eruption) หรือผื่นแพ้ยา

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2563

อาการแพ้ยามักเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อนซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ยามีลักษณะทางเคมีคล้ายกัน หรือในคนที่มีประวัติของโรคภูมิแพ้ (เช่น หืด หวัดเรื้อรัง ลมพิษ ผื่นคัน) มักจะมีโอกาสแพ้ยามากกว่าคนปกติที่ไม่มีประวัติ ดังนั้นการใช้ยาจึงควรระมัดระวังในเรื่องนี้มาก ในหลายคนมักสับสนในเรื่องของการแพ้ยา ซึ่งเข้าใจว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาทั้งหมดเป็นการแพ้ยา เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ ใจสั่น ผื่นคัน แท้จริงแล้วอาการเหล่านี้จะเรียกว่าอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดยอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.อาการข้างเคียงจากยา ผลการเกิดอาการดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา และ
2.การแพ้ยาซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมักจะไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและมักจะพบอาการที่เด่นชัดในระบบผิวหนัง ในบทความนี้จึงขอกล่าวในรายละเอียดของการเกิดผื่นที่เกิดจากการแพ้ยา

ผื่นผิวหนังจากการแพ้ยา (Cutaneous drug eruption) หรือผื่นแพ้ยา หมายถึงอาการไม่พึงประสงค์จากการแพ้ยาที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับระบบผิวหนัง รวมทั้ง ผม ขน เล็บและเยื่อบุ อาการดังกล่าวไม่สามารถคาดเดาได้ และสามารถเกิดขึ้นแม้จะได้รับยาขนาดปกติ หรือไม่จำเป็นต้องได้รับในขนาดสูงก็สามารถเกิดผื่นแพ้ยาได้ กลไกของการเกิดการแพ้ยาอาจเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน หรือไม่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน หรือไม่ทราบสาเหตุก็ได้ หลักเกณฑ์ที่พอจะบ่งชี้ถึงการเกิดอาการแพ้ยาได้โดยคร่าวๆ คือ ประวัติการได้รับยาตัวนั้นๆมาก่อนในช่วง 1-2 อาทิตย์ ประวัติภูมิแพ้ โรคร่วมอื่นๆ สถิติของการเกิดผื่นแพ้ยาของยาชนิดนั้นๆ รูปแบบของผื่นที่เกิดขึ้น เป็นต้น โดยส่วนใหญ่หากสงสัยอาการแพ้ยาจากยา การหยุดยาที่สงสัยแล้วทำให้อาการของผื่นดีขึ้น และ/หรือเกิดขึ้นอีกหากมีการใช้ยาซ้ำ ทั้งนี้การตรวจวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติที่ค่อนข้างละเอียด การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทำ skin test หรือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

สงสัยแพ้ยาควรทำอย่างไร?

บ่อยครั้งที่เกิดอาการไม่พึ่งประสงค์จากการใช้ยาค่ะ เช่นมีผื่นขึ้น หายใจลำบาก เกิดอาการบวม หรือวิงเวียนศีรษะ ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่อาการแพ้ยาเสมอไป ทางการแพทย์เรานั้นแบ่งอาการไม่พึ่งประสงค์นี้ออกเป็นสองอย่างที่สำคัญที่ควรรู้ค่ะ

- Drug allergy (การแพ้ยา) เป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ซึ่งไม่ได้เกิดกับทุกคน และ ทำนายได้ยาก ว่าจะมีอาการแพ้หรือไม่ อาการนั้นจะคล้ายๆกับการแพ้อาหาร แพ้กุ้ง ที่มีอาการ บวมตามใบหน้า มีผื่นขึ้น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก
เมื่อเกิดอาการแพ้ยานี้ เราจะไม่สามารถใช้ยาตัวนี้ได้อีกเลย เพราะฉะนั้นต้องจำชื่อให้แม่นค่ะ เพราะถ้าเกิดแล้ว อาการนี้จะเกิดไปตลอดชีวิต แม้จะรับยานี้ในขนาดน้อยๆก็ตาม
- Drug Adverse Effect (เกิดผลข้างเคียงจากยา) เป็นกลไกที่ไม่พึ่งประสงค์จากฤทธิ์ของยานั้นๆ ซึ่งเกิดกับทุกคนที่รับยา แต่การรับรู้ผลนั้นแตกต่างกัน เช่นบางคนกินยาแก้แพ้แล้วรู้สึกง่วง บางคนไม่รู้สึก แต่หากเพิ่มระดับยาขึ้นสูงๆ จะสามารถรับรู้ได้ทุกคน เมื่อเกิดผลข้างเคียงของยา ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ให้หยุดการรักษาด้วยยานั้น เพียงแต่ต้องพบแพทย์เพื่อปรับการบริหารยาให้เหมาะสมกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น

เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ควรทำอย่างไร?

เป็นการยากสำหรับบุคคลทั่วไป ในการแยกระหว่าง “แพ้ยา” กับ “ผลข้างเคียง” ดังนั้นหากเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ให้หยุดการใช้ยาไว้ก่อน และปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ ที่สำคัญให้นำยาที่กินอยู่ทุกตัวไปด้วยค่ะ เพราะจะได้วินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเป็นยาตัวใด และ ใช่การแพ้ยาหรือไม่
เมื่อเกิดอาการแพ้ยาจริง บุคคลากรทางการแพทย์ จะวินิจฉัยว่าเป็นการแพ้ชนิดใด และจะทำการออกบัตรแพ้ยา พร้อมทั้งระบุชนิดย่อยของการแพ้ลงในบัตร คนไข้ควรเก็บบัตรนี้ติดตัวไว้ตลอดและจำให้ได้ พร้อมทั้งยื่นบัตรแพ้ยาก่อนทำการรักษาใดๆเพื่อป้องกันการแพ้ซ้ำซ้อน
อีกประโยชน์ของการมีบัตรแพ้ยา และ รู้กลุ่มยาที่มีการแพ้ชัดเจน คือสามารถทำนายการแพ้ยาในกลุ่มเดียวกัน หรือยาที่มีโครงสร้างคล้ายกันได้

ทั้งนี้การรู้จักผื่นแพ้ยา และเฝ้าระวังหรือคอยสังเกตอาการหลังจากรับประทานยา เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิดการแพ้ยาซ้ำ รวมไปถึงการลดโอกาสในการเกิดผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง หากเกิดอาการที่สงสัยว่าคล้ายกับแพ้ยาหลังจากได้รับยาชนิดนั้นๆไป ผู้ป่วยไม่ควรหยุดการรักษาเองเพราะบางทีอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่อาการแพ้ที่รุนแรงจนทำให้ต้องเปลี่ยนแนวทางการรักษา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น หรืออาจจะไม่ใช่อาการแพ้ยาเพียงแต่เป็นผลข้างเคียงของยา ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากมีอาการดังกล่าว

นพ.ภัทร วรวุทธินนท์

bottom of page