top of page

รักษาโรคผิวหนัง

ความรู้เรื่องโรคผิวหนังและเลเซอร์

Image-empty-state_edited.jpg

รังสี UVA และ UVB ต่างกันอย่างไร ส่งผลกระทบกับผิวยังไง?

ช่วงนี้เริ่มเข้าหน้าร้อนแล้ว เราจะรู้สึกได้เลยว่า แดดมันเริ่มแรงขึ้น ซึ่งแสง UV ที่ทำร้ายผิวเราได้เนี่ยมีอยู่ 2 แบบ คือ UVA และ UVB ทั้งสองแสง UV นี้ทำร้ายผิวเราได้เหมือนกัน แต่ทำร้ายไม่เหมือนกัน

UVA คืออะไร แล้วทำร้ายผิวอย่างไร

UVA เป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นยาวค่ะ โดยอยู่ที่ 320 ถึง 420 nm และรู้ไหมคะว่า ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผาเนี่ย มีแสง UVA ที่กระทบถึงผิวเราได้ถึง 95% และมีมากถึง 80% ในวันที่แสงแดดอ่อนๆ แม้ว่า UVA และ UVB ทำร้ายผิวได้เช่นกัน แต่ UVA จะเป็นรังสีที่หลายคนให้ความระมัดระวังมากค่ะ เพราะว่าเป็นรังสีที่ตกกระทบถึงผิวได้มากกว่า และทะลุเข้าถึงผิวได้ลึกกว่า โดย UVA ทะลุถึงชั้นผิวที่มีคอลลาเจน และอีลาสตินอยู่ นั่นหมายความว่า ถ้าเราไม่ปกป้องผิวเลย ผิวเราจะมีโอกาสถูกแสง UVA ทำร้ายได้สูง และยังเป็นต้นเหตุของผิวแก่ ริ้วรอยได้ง่ายๆ เลยค่ะ และยังเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนังทุกประเภทอีกด้วย


แล้ว UVB ล่ะ ทำให้ผิวเราเสียได้อย่างไร

UVB จะเป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นที่สั้นกว่าค่ะ โดยอยู่ที่ 290-320 nm แม้ว่า UVB จะทะลุเข้าผิวได้ไม่ลึกเท่า UVA ก็ตาม แต่เป็นรังสีที่มีพลังมากค่ะ เพราะรังสี UVB สามารถทำให้ผิวเราไหม้แดด แสบ แดง รวมถึงรอยคล้ำได้ด้วย และความแรงของ UVB จะต่างกับ UVA ค่ะ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลา แล้วก็พื้นที่ที่แสงแดดตกกระทบ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายนถึงตุลาคมจะเป็นช่วงที่แสง UVB ค่อนข้างแรง และในช่วงเวลา 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็นก็เป็นช่วงระหว่างวันที่มีแสง UVB แรงเช่นกันค่ะ แล้วก็รังสีจะยิ่งแรงขึ้นถ้าตกกระทบกับทราย น้ำ และน้ำแข็ง (อย่างตามทะเล ชายหาด ก็จะเจอแสง UVB แผดเผาแรงค่ะ) รวมถึงถ้าอยู่ในบริเวณที่มีความสูงมากก็จะถูกแสง UVB ทำร้ายได้สูงเช่นเดียวกันค่ะ แม้จะดูเหมือนไม่ร้ายแรงเท่า UVA แต่ขอบอกว่า รังสี UVB ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งผิวหนังด้วยนะคะ

สรุป
สรุปก็คือว่า ทั้งสองรังสีนี้มีความต่างที่ช่วงคลื่นความยาว รังสี UVA จะยาวกว่า อีกทั้ง UVA จะพบเจอได้มากกว่า และยังทะลุเข้าผิวได้ลึกกว่า เป็นสาเหตุทั้งผิวคล้ำเสีย ริ้วรอยได้ด้วย ส่วน UVB แม้ช่วงคลื่นจะสั้นกว่า แต่ก็มีพลังมาก สามารถทำให้ผิวไหม้แดด เกิดรอยคล้ำได้ อีกทั้งไม่ว่าจะเป็นรังสีไหน ต่างก็ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้หากปกป้องผิวไม่ดีพอ

3 กรกฎาคม 2563 เวลา 07:41:31

Image-empty-state_edited.jpg

สิวที่ก้น เกิดจากอะไร รับมืออย่างไรดี ?

สิวที่ก้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ใส่กางเกงที่รัดเกินไป ว่ายน้ำในสระที่ไม่สะอาด หรือใช้ผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและอุดตันรูขุมขน เป็นต้น ซึ่งบางครั้งก็อาจทำให้เกิดรอยดำคล้ำจากสิวตามมาได้ด้วย แต่ปัญหาดังกล่าวก็อาจจัดการได้ง่าย ๆ โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ในบ้าน หรืออาจไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติมตามแต่กรณี

สาเหตุของสิวที่ก้น

สิวที่ก้นส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus ที่มักอาศัยอยู่ตามผิวหนังและเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลต่างๆ จนทำให้ติดเชื้อ หรืออาจเกิดจากปัญหารูขุมขนอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เชื้อรา ขนคุด การใช้ยาบางชนิด หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เป็นต้น

นอกจากนี้ สิวที่ก้นอาจเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

- สวมกางเกงหรือกางเกงชั้นในที่สกปรก ชุ่มเหงื่อ หรือรัดแน่นจนเกินไป
- แพ้สารในผลิตภัณฑ์ซักผ้า หรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- ใช้บริการอ่างน้ำหรือสระว่ายน้ำสาธารณะที่ไม่สะอาด รวมถึงสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- กำลังเจ็บป่วย เช่น เป็นโรคเบาหวาน หรือติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น เพราะอาจส่งผลให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคได้ต่ำกว่าปกติ

วิธีจัดการกับปัญหาสิวที่ก้น

ปัญหาสิวที่ก้นอาจทำให้เกิดอาการคันและระคายเคือง โดยอาจหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่หากรู้สึกไม่สบายตัวหรืออาการยังคงอยู่เป็นระยะเวลานานก็อาจทำตามวิธีดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น

1. ล้างผิวให้สะอาด การอาบน้ำและล้างผิวบริเวณก้นให้สะอาดเป็นวิธีสำคัญที่ป้องกันการติดเชื้อ และอาจเลือกใช้สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย เพราะการล้างบริเวณดังกล่าวอาจช่วยขจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ รวมทั้งแบคทีเรียที่เกิดจากเหงื่อออกด้วย
2. อาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกายหรือใช้บริการอ่างน้ำสาธารณะ เช่น สระว่ายน้ำ หรือสปา เป็นต้น เพื่อไม่ให้เหงื่อหรือสิ่งสกปรกที่มากับน้ำไปอุดตันรูขุมขนจนเกิดการอักเสบ ซึ่งก่อให้เกิดสิวและปัญหารอยดำคล้ำตามมาได้
3. ทาทีทรีออยล์ (Tea Tree Oil) อาจเลือกใช้โลชั่น ครีม หรือคลีนเซอร์ที่มีส่วนผสมของทีทรีออยล์ เพราะมีงานวิจัยที่พบว่าน้ำมันสกัดชนิดนี้อาจมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและรักษาสิวได้
4. ซับผิวด้วยน้ำเกลือ นำเกลือ 1 ช้อนชามาผสมกับน้ำสะอาดประมาณ 2 แก้ว จากนั้นนำผ้าขนหนูสะอาดไปชุบให้ชุ่มและซับในบริเวณที่เป็นสิว เนื่องจากน้ำเกลืออาจช่วยรักษาอาการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงได้
5. ใช้ครีมสังกะสี การเลือกใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสังกะสีหรือซิงก์ (Zinc) อาจช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของสิวได้
6.นั่งทับผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นที่ไม่ร้อนจนเกินไปแล้วนำมารองนั่ง เพราะอาจช่วยเปิดรูขุมขนให้กว้างขึ้น ระบายหนอง และขจัดแบคทีเรียออกไปได้ หรืออาจนั่งแช่ในน้ำอุ่นได้เช่นกัน
7. ผลัดเซลล์ผิว ใช้ใยบวบขัดผิวหรือใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวชนิดอ่อน เพื่อกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและป้องกันการเกิดปัญหารูขุมขนอุดตันหรือติดเชื้อ
8. เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ซักผ้า เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารก่ออาการแพ้ เพราะผู้ที่ผิวแพ้ง่ายบางรายอาจไวต่อสารเคมีต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์ซักผ้า เช่น ผงซักฟอก หรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น ซึ่งหากเกิดอาการแพ้ คัน ระคายเคือง หรืออักเสบ ก็อาจทำให้เป็นสิวที่ก้นได้
9.ไม่สวมกางเกงที่รัดหรือคับจนเกินไป ควรเลือกกางเกงที่หลวมพอเหมาะ ระบายอากาศได้ดี ไม่กักเหงื่อ และทำจากผ้าฝ้าย โดยเฉพาะกางเกงชั้นใน

ทั้งนี้ หากดูแลปัญหาสิวที่ก้นด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วไม่ได้ผล หรือมีอาการที่ทวีความรุนแรงขึ้น ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป และหากปัญหารูขุมขนอักเสบรุนแรงขึ้นมากจนเป็นฝีฝักบัว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที และห้ามเจาะฝีออกด้วยตนเองเด็ดขาด

26 มิถุนายน 2563 เวลา 06:09:23

Image-empty-state_edited.jpg

ผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก (Paederus dermatitis)

คงเป็นที่แตกตื่นกันพอสมควรเมื่อมีการให้สัมภาษณ์ออกรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งถึงอาการผื่นไหม้ที่บริเวณใบหน้าของแอร์โฮสเตสสาวท่านหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ โดยสาเหตุที่สงสัยว่าจะเกิดจากการสัมผัสกับแมลงชนิดหนึ่งที่ผู้ดำเนินรายการขอเรียกว่า “แมลงน้ำกรด” ซึ่งบางท่านอาจจะเคยได้ยินหรือรู้จักในนามว่า แมลงก้นกระดก ด้วงก้นกระดก หรือ แมลงเฟรชชี่ นั่นเอง

ภาวะที่เกิดขึ้นนี้มีชื่อว่า ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก หรือ Paederus dermatitis ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการสัมผัสโดนสารชนิดหนึ่งจากตัวแมลงที่มีชื่อว่า ด้วงก้นกระดก หรือ ด้วงปีกสั้น หรือ ด้วงก้นงอน (Rove Beetle, ชื่อวิทยาศาสตร์: Paederus fuscipes ) เป็นแมลงขนาดเล็กประมาณ 7-8 มม. ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้มขนาดเล็ก และส่วนท้องมีสีส้ม แมลงชนิดนี้มักจะงอส่วนท้ายเมื่อเกาะอยู่กับพื้น จึงมักเรียกว่า "ด้วงก้นกระดก" แมลงชนิดนี้จัดอยู่ใน Genus Paederus , Family Staphylinidae, Order Coleoptera โดยพบกระจายทั่วโลก มากกว่า 600 สปีชี่ส์ โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้น โดยมักอาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ชอบออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน โดยเฉพาะจะมีมากในช่วงปลายฤดูฝน

แมลงชนิดนี้สามารถปล่อยสารที่เรียกว่า Pederin ออกมา โดยสารชนิดนี้ก่อให้เกิดความระคายเคืองกับผิวหนังมาก ทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังของผู้ที่สัมผัสโดน และจะมีอาการแสบร้อนหรือ คันได้เล็กน้อยโดยไม่ได้ก่อให้เกิดอาการปวดแสบรุนแรงแต่อย่างใด และมีการอักเสบของผิวหนังได้โดยความรุนแรงจะขึ้นกับปริมาณความมากน้อยหรือความเข้มข้นของสาร Pederin ที่สัมผัสโดน อาการผื่นผิวหนังจะยังไม่เกิดทันทีที่สัมผัส แต่จะเริ่มเกิดผื่นและอาการแสบเมื่อผ่านไปประมาณ 24 ชั่วโมง ต่อมาจะเกิดเป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน หรือรอยไหม้ลักษณะเป็นทางยาว โดยลักษณะที่เกิดเป็นทางยาวเพราะเกิดจากการปัดด้วยมือ หรือบางรายจะเกิดผื่นที่บริเวณซอกรอยพับที่ประกบกัน (kissing lesion) ร่วมกับตุ่มน้ำพองและตุ่มหนองใน 2-3 วัน โดยผื่นตุ่มน้ำตามบริเวณใบหน้า ลำคอ แขน มักทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นงูสวัดได้แต่แตกต่างจากผื่นงูสวัดคือผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก จะไม่มีอาการปวดร้าวตามแนวเส้นประสาทที่ตำแหน่งที่เกิดผื่นเหมือนเช่นในงูสวัด ผื่นที่เกิดจากการสัมผัสแมลงก้นกระดกนี้ในเวลาต่อมาผื่นหรือแผลจะตกสะเก็ดและหายได้เองได้ภายใน 7 - 10 วัน หายแล้วอาจจะทิ้งรอยดำไว้สักระยะหนึ่ง ได้แต่มักไม่เกิดเป็นแผลเป็นนอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมที่บริเวณผื่นเดิมทำให้ผื่นหายช้าลงและอาจลุกลามจนมีโอกาสเกิดเป็นแผลเป็นหลังจากผื่นหายแล้วได้ สำหรับในรายที่ผื่นเป็นบริเวณกว้าง อาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดข้อ หรืออาการคลื่นไส้อาเจียนได้ หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้

หากสัมผัสถูกตัวของ “แมลงก้นกระดก” แล้ว ให้รีบล้างด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำสบู่ และประคบเย็นในบริเวณที่สัมผัสโดนแมลง สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนัง ถ้าเกิดเพียงรอยแดงเล็กน้อยสามารถหายเองได้ใน 2-3 วันไม่จำเป็นต้องทายาใด แต่ถ้าอาการผื่นเป็นมากขึ้นหรือมีตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี โดยการรักษาผื่นก็คือการให้ครีมสเตียรอยด์ทาในผื่นแดงระยะเริ่มแรก แต่ถ้าผื่นมีตุ่มน้ำพองเป็นบริเวณกว้างหรือแผลไหม้ควรทำการประคบด้วยน้ำเกลือครั้งละ5-10 นาที วันละ 3-4 ครั้งจนแผลแห้ง ร่วมกับพิจารณายาปฏิชีวนะชนิดรับประทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมและการรับประทานยาแก้คันเพื่อช่วยบรรเทาอาการคันในผู้ป่วยบางราย

คำแนะนำในการป้องกัน “แมลงก้นกระดก” ก็คือ ไม่ควรจับตัวแมลงมาเล่น ควรหลีกเลี่ยงการปัดหรือบีบตัวแมลงที่มาเกาะตามตัว ควรใช้วิธีเป่าแมลงให้หลุดออกไปเองโดยไม่ต้องจับโดนตัวแมลง ก่อนนอนควรปัดที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม ก่อน เพื่อป้องกัน รวมทั้ง ควรปิดประตูตู้เสื้อผ้า ประตูและหน้าต่างห้องนอนให้มิดชิดทั้งกลางวันและกลางคืน ในช่วงกลางคืนควรเปิดไฟเฉพาะเท่าที่จำเป็นโดยเฉพาะควรปิดไฟห้องนอน เพราะ “แมลงก้นกระดก” มักชอบออกมาเล่นแสงไฟตามบ้าน

22 มิถุนายน 2563 เวลา 06:52:45

Image-empty-state_edited.jpg

ผื่นผิวหนังจากการแพ้ยา (Cutaneous drug eruption) หรือผื่นแพ้ยา

อาการแพ้ยามักเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อนซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ยามีลักษณะทางเคมีคล้ายกัน หรือในคนที่มีประวัติของโรคภูมิแพ้ (เช่น หืด หวัดเรื้อรัง ลมพิษ ผื่นคัน) มักจะมีโอกาสแพ้ยามากกว่าคนปกติที่ไม่มีประวัติ ดังนั้นการใช้ยาจึงควรระมัดระวังในเรื่องนี้มาก ในหลายคนมักสับสนในเรื่องของการแพ้ยา ซึ่งเข้าใจว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาทั้งหมดเป็นการแพ้ยา เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ ใจสั่น ผื่นคัน แท้จริงแล้วอาการเหล่านี้จะเรียกว่าอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดยอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.อาการข้างเคียงจากยา ผลการเกิดอาการดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยา และ
2.การแพ้ยาซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมักจะไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและมักจะพบอาการที่เด่นชัดในระบบผิวหนัง ในบทความนี้จึงขอกล่าวในรายละเอียดของการเกิดผื่นที่เกิดจากการแพ้ยา

ผื่นผิวหนังจากการแพ้ยา (Cutaneous drug eruption) หรือผื่นแพ้ยา หมายถึงอาการไม่พึงประสงค์จากการแพ้ยาที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับระบบผิวหนัง รวมทั้ง ผม ขน เล็บและเยื่อบุ อาการดังกล่าวไม่สามารถคาดเดาได้ และสามารถเกิดขึ้นแม้จะได้รับยาขนาดปกติ หรือไม่จำเป็นต้องได้รับในขนาดสูงก็สามารถเกิดผื่นแพ้ยาได้ กลไกของการเกิดการแพ้ยาอาจเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน หรือไม่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน หรือไม่ทราบสาเหตุก็ได้ หลักเกณฑ์ที่พอจะบ่งชี้ถึงการเกิดอาการแพ้ยาได้โดยคร่าวๆ คือ ประวัติการได้รับยาตัวนั้นๆมาก่อนในช่วง 1-2 อาทิตย์ ประวัติภูมิแพ้ โรคร่วมอื่นๆ สถิติของการเกิดผื่นแพ้ยาของยาชนิดนั้นๆ รูปแบบของผื่นที่เกิดขึ้น เป็นต้น โดยส่วนใหญ่หากสงสัยอาการแพ้ยาจากยา การหยุดยาที่สงสัยแล้วทำให้อาการของผื่นดีขึ้น และ/หรือเกิดขึ้นอีกหากมีการใช้ยาซ้ำ ทั้งนี้การตรวจวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติที่ค่อนข้างละเอียด การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทำ skin test หรือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

สงสัยแพ้ยาควรทำอย่างไร?

บ่อยครั้งที่เกิดอาการไม่พึ่งประสงค์จากการใช้ยาค่ะ เช่นมีผื่นขึ้น หายใจลำบาก เกิดอาการบวม หรือวิงเวียนศีรษะ ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่อาการแพ้ยาเสมอไป ทางการแพทย์เรานั้นแบ่งอาการไม่พึ่งประสงค์นี้ออกเป็นสองอย่างที่สำคัญที่ควรรู้ค่ะ

- Drug allergy (การแพ้ยา) เป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ซึ่งไม่ได้เกิดกับทุกคน และ ทำนายได้ยาก ว่าจะมีอาการแพ้หรือไม่ อาการนั้นจะคล้ายๆกับการแพ้อาหาร แพ้กุ้ง ที่มีอาการ บวมตามใบหน้า มีผื่นขึ้น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก
เมื่อเกิดอาการแพ้ยานี้ เราจะไม่สามารถใช้ยาตัวนี้ได้อีกเลย เพราะฉะนั้นต้องจำชื่อให้แม่นค่ะ เพราะถ้าเกิดแล้ว อาการนี้จะเกิดไปตลอดชีวิต แม้จะรับยานี้ในขนาดน้อยๆก็ตาม
- Drug Adverse Effect (เกิดผลข้างเคียงจากยา) เป็นกลไกที่ไม่พึ่งประสงค์จากฤทธิ์ของยานั้นๆ ซึ่งเกิดกับทุกคนที่รับยา แต่การรับรู้ผลนั้นแตกต่างกัน เช่นบางคนกินยาแก้แพ้แล้วรู้สึกง่วง บางคนไม่รู้สึก แต่หากเพิ่มระดับยาขึ้นสูงๆ จะสามารถรับรู้ได้ทุกคน เมื่อเกิดผลข้างเคียงของยา ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ให้หยุดการรักษาด้วยยานั้น เพียงแต่ต้องพบแพทย์เพื่อปรับการบริหารยาให้เหมาะสมกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น

เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ควรทำอย่างไร?

เป็นการยากสำหรับบุคคลทั่วไป ในการแยกระหว่าง “แพ้ยา” กับ “ผลข้างเคียง” ดังนั้นหากเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ให้หยุดการใช้ยาไว้ก่อน และปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ ที่สำคัญให้นำยาที่กินอยู่ทุกตัวไปด้วยค่ะ เพราะจะได้วินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเป็นยาตัวใด และ ใช่การแพ้ยาหรือไม่
เมื่อเกิดอาการแพ้ยาจริง บุคคลากรทางการแพทย์ จะวินิจฉัยว่าเป็นการแพ้ชนิดใด และจะทำการออกบัตรแพ้ยา พร้อมทั้งระบุชนิดย่อยของการแพ้ลงในบัตร คนไข้ควรเก็บบัตรนี้ติดตัวไว้ตลอดและจำให้ได้ พร้อมทั้งยื่นบัตรแพ้ยาก่อนทำการรักษาใดๆเพื่อป้องกันการแพ้ซ้ำซ้อน
อีกประโยชน์ของการมีบัตรแพ้ยา และ รู้กลุ่มยาที่มีการแพ้ชัดเจน คือสามารถทำนายการแพ้ยาในกลุ่มเดียวกัน หรือยาที่มีโครงสร้างคล้ายกันได้

ทั้งนี้การรู้จักผื่นแพ้ยา และเฝ้าระวังหรือคอยสังเกตอาการหลังจากรับประทานยา เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิดการแพ้ยาซ้ำ รวมไปถึงการลดโอกาสในการเกิดผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง หากเกิดอาการที่สงสัยว่าคล้ายกับแพ้ยาหลังจากได้รับยาชนิดนั้นๆไป ผู้ป่วยไม่ควรหยุดการรักษาเองเพราะบางทีอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่อาการแพ้ที่รุนแรงจนทำให้ต้องเปลี่ยนแนวทางการรักษา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น หรืออาจจะไม่ใช่อาการแพ้ยาเพียงแต่เป็นผลข้างเคียงของยา ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากมีอาการดังกล่าว

21 มิถุนายน 2563 เวลา 04:53:11

Image-empty-state_edited.jpg

อย่าปล่อยให้ผิวต้องไหม้เสีย ใช้กันแดดป้องกันแสงแดดอย่างสม่ำเสมอ

แสงแดด ที่แผดแสงมาโดนผิวเราในทุกวันนี้ แม้จะเห็นว่าเป็นแสงสีนวลดูอบอุ่น แต่รู้หรือไม่ว่ามีอันตรายมากกว่าที่คิด ยิ่งใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ด้วยแล้ว แพลนไปเที่ยวต่างจังหวัด กางเต็นท์ ลุยป่า ฝ่าคลื่นทะเล ล้วนต้องปะทะกับแสงแดดโดยตรง อย่างน้อยต้องรู้จักป้องกัน ผู้ช่วยผิวแบบพกพา คงไม่มีอะไรดีไปกว่า “ครีมกันแดด” อย่าคิดว่าพกไปแล้วทาเพียงอย่างเดียวแล้วจะจบนะ ต้องรู้จักวิธีใช้ที่จะปกป้องผิวของเราให้มากที่สุดด้วย อย่าประมาท เพราะถ้าพลาดขึ้นมา ผิวคุณโดนแสงแดดเล่นงานแน่นอน

วันนี้ Virat Clinic มาแนะนำให้รู้จักกับ “ครีมกันแดด” ผู้ช่วยผิวช่วงเทศกาลหน้าร้อน
ในแสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือรังสี UV ซึ่งมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ UVA และ UVB ซึ่งรังสีเหล่านี้อยู่ในช่วงคลื่นที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและทั้งคู่กินผิวของเราเป็นอาหาร

– รังสี UVA เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นมากที่สุดกว่ารังสีอื่น มีมากถึง 95% ของรังสีที่มากระทบกับผิวเรา โดยเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ผิวแก่ก่อนวัย และเรื่องของผิวคล้ำแดด โดยเฉพาะเรื่องของ กระ และ ฝ้า ซึ่งรังสีพวกนี้สามารถทะลุผ่านกระจกหรือแม้กระทั่งก้อนเมฆได้ นั่นหมายความว่า ในวันที่ท้องฟ้ามืดครึ้มหรือแม้กระทั่งที่เรานั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ เราก็จะได้รับรังสีตัวนี้ตลอดเวลาและทุกวัน อยู่ออฟฟิศอย่าคิดว่ารอด

– รังสี UVB ถึงแม้จะเข้าถึงไม่ลึกเท่ากับรังสียูวีเอ แต่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผิวแดง ผิวไหม้แดด และมะเร็งผิวหนัง โดยรังสีตัวนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษในการสะท้อนกับผิววัตถุ ไม่ว่าจะเป็นพื้นน้ำ พื้นทราย ซึ่งอัตราการสะท้อนกลับมีมากถึง 80% นั่นหมายความว่าผิวเราจะได้รับรังสีมากกกว่าปกติถึงสองเท่า เพราะฉะนั้นไม่แปลกเลยเมื่อเวลาที่เราไปทะเล ผิวเราจะมีความคล้ำเสียได้ง่ายกว่าปกติ

แสงแดดเวลาไหนอันตรายที่สุด ช่วงเวลา 10 โมงเช้า – 4 โมงเย็น หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ซึ่งเป็นช่วงที่ปริมาณรังสี UV มีความเข้มข้นมากที่สุด แต่ถ้าหากต้องออกแดดจริงๆ แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่นหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด หรือ ร่ม

เลือกครีมกันแดดให้เหมาะสมกับสภาพผิว

ผิวแพ้ง่าย แดงง่าย ผิวบอบบาง ผิวที่มีปัญหาสิว ให้เลือกครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของ Zinc Oxide และ Titanium Dioxide พยายามเลี่ยงครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของกรด Paba และ Oxybenzone เพราะว่าสองตัวนี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ง่าย วิธีเลือก คือ ถ้าฉลากมีเขียนว่า Preservative free หรือ Fragrance free พวกนี้สามารถใช้ได้เลย ถ้ามีปัญหาเรื่องสิว ควรใช้แบบที่เป็นเนื้อโลชั่น เพราะประเภทครีมเนื้อจะข้นมากไป ทำให้เกิดการอุดตันได้ ถ้าเป็นประเภทเจล มักจะมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์สูง ซึ่งก็อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้มากเช่นกัน

ผิวแห้ง ครีมกันแดดที่แนะนำจะต้องมี Moisturizer เราอาจจะสังเกตส่วนประกอบข้างหลังขวด อย่างเช่น ลาโนลิน เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่เป็นมอยเจอร์ไรเซอร์ชนิดหนึ่ง แบบนี้ใช้ได้ดีเลย โดยรูปผลิตภัณฑ์ที่แนะนำจะอยู่ในรูปของครีม โลชั่น หรือขี้ผึ้ง ก็ใช้ได้เช่นกัน

ผิวที่มีปัญหาเรื่องเม็ดสี เช่นฝ้า หรือในคนที่ผิวขาวมากๆ ผิวประเภทนี้ต้องการการปกป้องมากเป็นพิเศษ แนะนำครีมกันแดดที่มี SPF30+ ขึ้นไปและต้องทาให้เป็นประจำเพื่อการป้องกันที่ดีแนะนำพิเศษสำหรับคนที่เป็นฝ้า ให้ใช้ครีมที่มีสารประกอบของ Zinc Oxide และ Titanium Dioxide อย่างในเครื่องสำอางเวลาให้ลองดูว่าตัวไหนมีส่วนประกอบของ Iron Oxide ซึ่งจะสามารถป้องกันแสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า อย่างแสงไฟในที่ทำงานทั่วไป หรือแสงอาทิตย์ที่เรามองเห็นได้ ซึ่งมีรายงานว่าแสงเหล่านี้ สามารถกระตุ้นให้ฝ้าเข้มได้

ผิวสีน้ำผึ้ง ผิวสีประเภทนี้ จะมีปัญหาเมื่อเราใช้ครีมกันแดดที่มีสารประกอบของ Zinc Oxide และ Titanium Dioxide ปัญหาที่เกิดคือหน้าขาวมากผิดปกติ หรือที่เรียกว่าหน้าลอย วิธีแก้ คือ พยายามเลือกครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของ Micronized แล้วตามด้วยชื่อของสารประกอบนั้นๆ ซึ่งแปลว่าอนุภาคของสิ่งที่เอามาทำจะเล็กลง สิ่งที่ตามมา คือ หลังจากนั้น ครีมกันแดดจะเกลี่ยได้ง่าย ทำให้แต่งหน้าได้ง่าย ไม่ขาวจนเกินไป

วิธีเลือกครีมกันแดด

1.เลือกครีมกันแดดที่เขียนไว้ว่าบนฉลากข้างบรรจุภัณฑ์ว่า “Broad Spectrum” เพราะสามารถป้องกันแดดได้ทั้งรังสี UVA และ UVB หรือดูจากตัวอักษรที่เขียนว่า SPF ซึ่งเป็นการบ่องบอกว่า สามารถป้องกันรังสี UVB และ PA แล้วมีเครื่องหมาย + ตามมา สามตัวเป็นอย่างน้อย หรือ PPD มากกว่า 8 หรือ PA ที่อยู่ในสัญลักษณ์วงกลม ซึ่งหมายความว่าครีมกันแดดขวดนี้สามารถป้องกันรังสี UVA ได้

เลือก SPF ให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำ โดย SPF15 สามารถกรองรังสี UVB ได้ประมาณ 93% ถ้า SPF30 กรองได้ประมาณ 97% SPF50 กรองได้ประมาณ 98% SPF30 กับ SPF50 อัตราการกรองจะต่างกันแค่ 1% เพราะฉะนั้น SPF มากที่สุด ที่แนะนำให้ใช้ คือ SPF50 เท่านั้น ถ้าไม่ได้ออกไปข้างนอกก็ใช้แค่ SPF15 ขึ้นไป แต่ถ้าต้องออกไปทำกิจกรรมข้างนอกก็ต้อง SPF30+ ขึ้นไป
3.ครีมกันแดดแบบ Water Resistant หมายถึง เป็นครีมกันแดดที่กันน้ำ เหมาะสำหรับการออกไปว่ายน้ำ หรือทำกิจกรรมที่ทำให้มีเหงื่อออกเยอะ สามารถป้องกันรังสี UV ต่างๆ ได้ประมาณ 40-80 นาทีหลังทา ดังนั้นควรทาซ้ำหลังจากที่ทำกิจกรรมดังกล่าวไปแล้ว

ครีมกันแดดมีอยู่ 2 ประเภท คือ Chemical Sunscreen และ Physical Sunscreen

1. Chemical Sunscreen จะใช้หลักการด้วยการดูดซับรังสี UV แล้วเปลี่ยนเป็นคลื่นที่มีความยาวช่วงอื่นกับความร้อน ก่อนที่จะคลายตัวออกจากครีมกันแดด แต่บางชนิดกันได้แค่ UVA บางชนิดกันได้แค่ UVB หรือบางชนิดกันได้ทั้ง 2 แบบ
**ข้อดี เนื้อโลชั่นมีความเกลี่ยง่าย ทำให้การแต่งหน้าดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

** ข้อเสีย ของครีมกันแดดประเภทนี้ คือ จะไม่คงทนต่อเหงื่อและน้ำ และยังก่อให้เกิดการระคายเคืองกับผิวได้ง่าย

2. Physical Sunscreen ใช้หลักการสะท้อนรังสี UV ออกจากผิวหนังของเรา โดยครีมกันแดดลักษณะนี้ สามารถกันไดทั้งช่วงคลื่นรังสี UVA และ รังสี UVB
**ข้อดี คือ จะดูดซึมเข้าสูผิวหนังน้อยมาก เพราะนั้นเลยไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการแพ้

**ข้อเสีย คือ คุณสมบัติทึบแสงของอนุภาคเหล่านี้ หลังการทาจะทำให้ผิวหน้าขาวขึ้นมากกว่าปกติ

- ทาครีมกันแดดอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

เลือก SPF ที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำ ทาให้เป็นประจำทุกวัน ไม่ว่าจะทำงานอยู่ในร่มอยู่ที่ออฟิศ อยู่ที่บ้าน วันที่ฟ้าครึ้มไม่มีแดด ก็ต้องทาเพราะว่ารังสี UV สามารถผ่านทะลุกระจกรวมถึงก้อนเมฆได้ เพราะฉะนั้นทำให้ผิวของเราเจอกับรังสี UV อยู่ตลอดเวลา

บริเวณลำตัวแนะนำให้ทาประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ สำหรับใบหน้าและลำคอ ขึ้นอยู่กับเนื้อของผลิตภัณฑ์ ถ้าเป็นครีม แนะนำให้บีบครีเท่ากับสองข้อนิ้วมือ แล้วแบ่งทาทีละครึ่ง ถ้าเป็นโลชั่นให้บีบไว้บนฝ่ามือ ใหญ่เท่าประมาณเหรียญ 10 บาท ทาแบบทีละครึ่งเหรียญทาก่อนออกแดดประมาณ 30 นาทีก่อนออกแดด และในวันที่มีกิจกรรมกลางแจ้งให้ทาซ้ำเพราะครีมกันแดดจะมีประสิทธิภาพกันรังสี UV ได้แค่ 2 ชั่วโมงหลังจากนี้ไป ประสิทธิภาพก็จะหมดลง

เรื่องของแสงแดดไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ส่วนหนึ่งให้ผลในทันที ส่วนหนึ่งจะเห็นผลหลังจากที่เรากลับมาจากไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งมาแล้ว เพราะฉะนั้น ขอย้ำว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร อย่าลืมทา “ครีมกันแดด” ทุกครั้งจะได้มีผิวใสไม่หมองคล้ำกลับมา

15 มิถุนายน 2563 เวลา 08:05:47

Image-empty-state_edited.jpg

ผื่นคันเกาแล้วลาม มีสาเหตุจากโรคผิวหนังชนิดใดได้บ้าง?

ผื่นคันเกาแล้วลามเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่โรคไม่ร้ายแรงจนถึงโรคเรื้อรังรักษายาก รู้ทันโรคที่อาจเป็นได้ และสัญญาณอันตรายที่หากสังเกตพบต้องรีบหาหมอ

หลายคนอาจเคยประสบปัญหาเวลามีผื่นคัน ยิ่งเกายิ่งคัน ยิ่งคันยิ่งเกา ลามไปกันใหญ่จนรุนแรงขึ้น เป็นที่น่ากังวลใจ ผื่นผิวหนังอักเสบหลายชนิดจะลุกลามขึ้นเมื่อเกา หลายคนมักเข้าใจผิดว่าผื่นที่เกิดอาการคันตามตัวมีสาเหตุจากการแพ้ หรือจากฝุ่นละออง หรือสิ่งสกปรกตามเสื้อผ้า แต่แท้ที่จริงแล้วสาเหตุของผื่นคันเกาแล้วลามมีมากมาย เช่น

- ผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) ลักษณะจะพบผื่นแดงคัน เกาแล้วอาจทำให้ผื่นขยายขนาดขึ้น นูนหนามากขึ้น หรือในบางรายอาจพบว่าเกาแล้วมีน้ำใสๆ ออกมา ผื่นดูแดง แฉะ อักเสบยิ่งกว่าเดิม มีทั้งทราบและไม่ทราบสาเหตุกระตุ้น

สาเหตุที่พบได้ เช่น แพ้สารเคมี แพ้ยา การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียด

- ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ในเด็กมักขึ้นบริเวณแก้ม แขน ข้อศอก หัวเข่า ส่วนในผู้ใหญ่มักขึ้นบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า

ในบางรายอาจจะพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ภูมิแพ้อากาศ มีน้ำมูกใสๆ ในช่วงเช้า หอบหืด คันตา เกิดวงขาวบริเวณใบหน้าที่เรียกว่า เกลื้อนน้ำนม ผิวแห้ง มีรอยคล้ำและเส้นใต้ตา (Dennie morgan lines) ผื่นจากโรคนี้จะคันมาก ยิ่งเกาจะยิ่งคันและนูนหนาขึ้น รักษายาก

- ผื่นลมพิษ ชนิดเดอร์โมกราฟิซึม (Dermographism) จะมีผื่นนูนแดงเวลาเกาหรือขูดขีด นอกจากนั้นอาจเกิดในตำแหน่งที่มีการกดทับ เช่น ขอบชุดชั้นใน ขอบกางเกงรัดๆ

- ผื่นจากการติดเชื้อไวรัส เช่น หูด หูดข้าวสุก ผื่นจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก มักมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร สีกลืนกับผิวหรือออกขาว ไม่แดง สามารถขึ้นได้ทุกตำแหน่งในร่างกาย ส่วนใหญ่มักไม่คัน

- ผื่นสาเหตุจากเชื้อรา ผื่นจากการติดเชื้อราจะมีขอบชัด แดง อาการคันเพียงเล็กน้อย สามารถเกิดผื่นได้ทุกตำแหน่งของร่างกาย แต่มักพบบ่อยบริเวณซอกพับและตำแหน่งอับชื้น

บางรายถ้าเป็นการติดเชื้อราจากสัตว์เลี้ยง ลักษณะผื่นจะรุนแรง แดง แฉะ และอาจมีตุ่มหนองได้ ถ้าผู้ป่วยซื้อยากลุ่มลดอักเสบสเตียรอยด์มาทาเอง จะยิ่งทำให้ผื่นเชื้อราลุกลามออกไป

- ผื่นสะเก็ดเงิน ผื่นสะเก็ดเงินจะมีลักษณะนูนแดงขอบชัด มีขุยสีขาวสะท้อนคล้ายสีเงิน ผื่นสามารถขึ้นได้ทั่วร่างกาย พบบ่อยบริเวณข้อศอก หัวเข่า เล็บผิดปกติ บางรายพบขุยที่ศีรษะ ผู้ป่วยมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นรังแค สระผมเกาแรงขยี้แรง ขุยที่ศรีษะก็ไม่ดีขึ้น อีกทั้งยังทำให้อาการคันรุนแรงขึ้นอีก
โดยทั่วไปผื่นสะเก็ดเงินมักมีอาการคัน ถ้าผู้ป่วยแกะเกา จะสามารถลามเกิดผื่นขึ้นใหม่ในตำแหน่งที่แกะเกาได้

9 มิถุนายน 2563 เวลา 07:17:07

Image-empty-state_edited.jpg

แผลกดสิวที่ตกสะเก็ด กี่วันถึงจะหาย?

สะเก็ดแผล เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

การกดสิวนั้น อาจมีแผลจากการกดแต่ละครั้งที่มีขนาดและความลึกของแผลไม่เท่ากัน
จึงเกิดการหายของแผลที่แตกต่างกันได้
แผลตกสะเก็ดตื้นๆจากการกดสิวนั้น จะใช้เวลา 2-3 วันจึงจะหลุดออก

สะเก็ดแผลเป็นการรักษาโดยธรรมชาติ สะเก็ดแผลเกิดจากเลือดที่แข็งตัวจับกันเป็นก้อนเพื่อปิดปากแผล กันไม่ให้เลือดไหลออกและไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาในร่างกาย อาจมีหลายเหตุผลที่ทำให้สะเก็ดแผลไม่สมาน เช่น การเสียดสีจากเสื้อผ้า การเผลอเอามือไปเกาในบริเวณที่เป็นโดยไม่รู้ตัว การโกนหนวดหรืออาบน้ำ ดังนั้นเราจำเป็นต้องป้องกันสิ่งเหล่านี้ ดังนี้

1. ห้ามแกะเกาในบริเวณที่เป็นสะเก็ดแผล สะเก็ดแผลอาจทำให้เรารู้สึกคันและยากที่จะทน แต่การที่เราเกาหรือดึงสะเก็ดแผลออกมานั้นอาจทำให้แผลติดเชื้อและการสมานแผลเป็นไปได้ช้า ผิวหนังที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ใต้สะเก็ดแผลนั้นบอบบางมาก ถ้าเราเกาหรือแกะสะเก็ดแผลออกมีโอกาสที่ผิวหนังใหม่จะถูกทำลาย วิธีป้องกันอาการคัน ให้ทาครีมหรือขี้ผึ้งจะทำให้ผิวหนังบริเวณรอบๆ ชุ่มชื้นและช่วยบรรเทาอาการคัน
2. ขี้ผึ้งป้องกันแบคทีเรีย
สิ่งที่ดีที่สุดคือการรักษาให้บริเวณแผลตกสะเก็ดแห้งและสะอาดอยู่เสมอ เราสามารถล้างทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องถูกสะเก็ดแผลมากเกินไปและปล่อยให้แห้ง เมื่อสะเก็ดแผลแห้งให้ทาขี้ผึ้งบางๆ ที่บริเวณสะเก็ดแผลอย่างสม่ำเสมอ ข้อควรระวัง อย่าทาครีมหรือขี้ผึ้งที่สะเก็ดแผลมากเกินไปจะทำให้สะเก็ดแผลนุ่มและการรักษาแผลช้าลง
3. หลีกเลี่ยงการปิดแผล
ไม่ควรปิดพลาสเตอร์ยาในบริเวณแผลตกสะเก็ด ควรปล่อยให้แห้ง เราจะใช้ผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ยาปิดบริเวณที่เป็นแผลก็ต่อเมื่อมีเลือดออกหรือแผลติดเชื้อ สะเก็ดแผลที่แห้งและสมบูรณ์จะช่วยให้กระบวนการสร้างผิวหนังใหม่รวดเร็วยึ่งขึ้น ถ้าแผลเปียกหรือถลอกแบคทีเรียจะสามารถเข้าไปในร่างกายทำให้เกิดการติดเชื้อได้ กรณีที่เป็นรอยแผลบนใบหน้าให้หลีกเลี่ยงการปิดปิดด้วยการใช้รองพื้นหรือคอนซีลเลอร์ การแต่งหน้าในบริเวณแผลตกสะเก็ดสามารถนำไปสู่การติดเชื้อและเป็นแผลเป็นได้
4. ให้เวลาร่างกายเยียวยา
เราควรอดทนรอเวลา ร่างกายต้องการเวลาในการรักษาตัวเองด้วยธรรมชาติ สิ่งที่เราต้องทำคือ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว วิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามิน C, D, E, กรดโฟลิก แคลเซียม และน้ำมันตับปลาสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันช่วยให้การรักษารวดเร็วขึ้นอีกด้วย

1 มิถุนายน 2563 เวลา 06:28:02

Image-empty-state_edited.jpg

แพทย์ผิวหนังเตือน อันตรายจากการ “สัก”

เตือนผู้นิยมสักให้คำนึงถึงความเสี่ยงและอันตรายของการสัก แนะให้คิดให้ดีก่อนสักเพราะอาจติดเชื้อและมีแผลเป็นติดตัวได้
นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ผู้ที่มีความพึงพอใจหลงใหลในความสวยงามของสีสันและลวดลายของการสัก อาจยังไม่ตระหนักถึงอันตรายจากการสักที่จะมีผลต่อร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย


สาเหตุที่ทำให้การ “สัก” ในแต่ละครั้ง อาจเกิดอันตรายได้

1.การแพ้สีที่ใช้ในการสัก
2.เครื่องมือที่ใช้ไม่สะอาดเพียงพอ
3.การดูแลตนเองหลังจากการสักที่ไม่ถูกต้อง จนเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ทั้งทางผิวหนังและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
4.การสักสีลงไปในผิวจะทำให้ผิวหนังเกิดบาดแผลและมีเลือดออก มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การแพ้สีย้อม การเกิดแผลเป็นนูน (Keloid) หรือการเปลี่ยนใจอยากลบออกในภายหลังซึ่งปัญหาการติดเชื้อจากการสักพบมากขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของการสักที่พบบ่อย คือ

- อาจมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส จากเข็มที่ไม่สะอาด
- กระบวนการดูแลแผลหลังการสักไม่สะอาดเพียงพอจนอาจเกิดเชื้อโรค
เชื้อโรคที่พบบ่อย มีทั้ง เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบบี/ซี เชื้อ HIV เป็นต้น

ดูแลผิวหลังสักไม่ดีพอ ก็เสี่ยงอันตรายได้
เนื่องจากมีความนิยมสักในตำแหน่งผิวหนังที่บอบบางเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการดูแลแผลหลังการสักยุ่งยากมากขึ้น เช่น บริเวณริมฝีปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงอาจเกิดแผลเป็นจากการติดเชื้อหรือมีการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

วิธีดูแลผิวหนังหลังสัก
1. สังเกตให้ดีว่าช่างสักจะต้องทาปิโตรเลียมเจลลี่ลงบนรอยสักบาง ๆ ก่อนปิดด้วยพลาสเตอร์หรือ หรือผ้าพันแผล เพื่อป้องกันไม้ให้แบคทีเรีย และเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่แผล และป้องกันการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นจากการเสียดสีของผิวหนัง กับเสื้อผ้า
2. หลัง 24 ชั่วโมง ค่อยเอาผ้าปิดแผลออก ล้างมือ ก่อนล้างแผลด้วยสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยย้ำสะอาด ซับแผลให้แห้ง
3. ทาปิโตรเลียมเจลลี่ หรือขี้ผึ่งที่ช่วยป้องกันแบคทีเรียลงบนแผล และไม่ต้องปิดผ้าพันแผล
4. ทำความสะอาดแผลอย่างต่อเนื่องวันละ 1-2 ครั้ง
5. ถ้าสะเก็ดแผลขึ้น ไม่ควรแกะ ปล่อยให้หลุดเองตามธรรมชาติ
6. หากมีอาการปวดบวมแดงอักเสบ ควรรีบพบแพทย์

ก่อนตัดสินใจสักผิวหนัง ควรคำนึงถึงผลดีผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการสัก รวมทั้งหาข้อมูลสถานประกอบการที่เชื่อถือได้ก่อนรับบริการ เพราะเมื่อสักผิวหนังไปแล้ว เกิดไม่ชอบใจรูปที่สักไว้ภายหลัง และต้องการลบรอยสักออกก็จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายอีกมาก โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการลบรอยสักมากกว่าการสักหลายเท่า เช่น เราอาจจะเสียค่าสักเพียง 1,000 บาท แต่การลบรอยสักอาจเสียค่าใช้จ่ายแพงถึง 5,000 – 20,000 บาท การรักษาส่วนใหญ่ต้องทำหลายครั้งอย่างต่อเนื่องทำให้เสียเวลาเสียเงิน ที่สำคัญ การลบรอยสักโดยการใช้เลเซอร์ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ผู้ที่ต้องการสักหรือลบรอยสัก ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเลือกสถานบริการที่ได้มาตรฐาน

26 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:29:46

Image-empty-state_edited.jpg

หูดกับตาปลา ความต่างที่คล้ายกัน แยกอย่างไรให้ออก

หูดคืออะไร
หูด เป็นผิวหนังเล็กๆ ที่เกิดความผิดปกติแล้วงอกออกมาที่บริเวณผิวหนัง หูดเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ ส่วนของร่างกาย แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณเท้า มือ และนิ้ว ซึ่งหูดนั้นเกิดขึ้นจากไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยผ่านทางการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม หลังจากได้รับเชื้อแล้วมักจะไม่เกิดอาการโดยทันที ผู้ป่วยบางรายใช้เวลานานถึง 6 เดือนหลังจากได้รับเชื้อจึงจะมีอาการ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่สัมผัสเชื้อแล้วจะมีอาการ สำหรับบางคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมาก ๆ เมื่อได้รับเชื้อแล้วอาจจะไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้

ตาปลาคืออะไร
ตาปลา เป็นชั้นผิวหนังหนาๆ ที่เกิดจาก การเสียดสีและแรงกดทับที่เกิดบ่อยๆ ดังนั้นจึงทำให้ส่วนใหญ่แล้วตาปลาจะเกิดขึ้นที่บริเวณเท้า เพราะเกิดแรงเสียดสีจากการใส่รองเท้า การเดิน การวิ่ง และแรงกดทับที่เกิดจากการนั่ง จึงทำให่ส่วนใหญ่แล้วตาปลามักจะเกิดขึ้นที่บริเวณเท้า ซึ่งรองเท้านั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการเกิดตาปลา หากใส่รองเท้าแน่นไปก็จะเกิดแรงกดทับ หากใส่รองเท้าหลวมไปก็จะเกิดแรงเสียดสีได้ ดังนั้นการเลือกรองเท้า ควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปเท้าและเลือกขนาดที่พอดีเท้า

"หูดกับตาปลา เหมือนและต่างกันอย่างไร"
ความเหมือน หูดและตาปลานั้นมีความเหมือนกันตรงที่
- มีขนาดเล็ก ผิวหนังมีความแข็งและด้าน
- ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณเท้า
- มีอาการเจ็บมีโดนหรือเกิดการสัมผัส

ความต่างของ หูดกับตาปลา
จุดที่เกิดบนร่างกาย หูดสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ส่วนของร่างกาย ส่วนตาปลาสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะบริเวณเท้าเท่านั้น

ลักษณะ
หูดมีลักษณะเป็นหลุมลงไปที่บริเวณผิวหนังและจะมีเส้นสีดำลึกลงไปที่ชั้นใต้ผิวหนัง ส่วนตาปลาจะมีลักษณะนูนขึ้นมาจากชั้นผิวหนัง เป็นขุยๆ และมีความแห้งกร้าน

สาเหตุการเกิด = หูดเกิดจากไวรัส ตาปลาเกิดจากแรงเสียดสีและการกดทับ

22 พฤษภาคม 2563 เวลา 07:22:03

Image-empty-state_edited.jpg

รู้จักกับแมลงก้นกระดก ภัยร้ายใกล้ตัว

แมลงก้นกระดก (Rove beetles) หรือที่เรียกกันว่า ด้วงก้นกระดก ด้วงก้นงอน หรือ ด้วงปีกสั้น เป็นแมลงขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำสลับส้มเป็นปล้องๆ จุดเด่นของแมลงชนิดนี้คือเมื่อเกาะแล้วจะมีลักษณะเหมือนก้นกระดกขึ้นมา มักพบในช่วงฤดูฝน โดยเข้ามาตอมหลอดไฟในบ้านและร่วงหล่นตามพื้น

สาเหตุของโรค
เกิดจาก แมลงก้นกระดก ปล่อยพิษที่มีชื่อว่า พิเดอริน (Pederin) ซึ่งมีลักษณะเป็นกรดที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนเป็นรอยไหม้หลังจากสัมผัสพิษประมาณ 8-12 ชั่วโมง โดยส่วนมากมักเกิดจากการสัมผัส ปัด หรือบี้ตัวแมลง จนทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง

อาการของโรค
สำหรับผู้ป่วยที่โดนกรดจากแมลงก้นกระดก จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน พบรอยไหม้ และตุ่มน้ำเป็นเป็นผื่น ที่มีลักษณะคล้ายเป็นเริมหรืองูสวัด แต่จะพบเป็นรอยยาว ไม่เป็นกระจุก มักพบรอยบริเวณนอกเสื้อผ้า ในบางคนที่แพ้พิษอาจมีอาการรุนแรง เช่น พุพอง คลื่นไส้อาเจียน หรือเริ่มมีไข้ แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

วิธีการรักษา
สำหรับการรักษา เบื้องต้นเมื่อโดนพิษจากแมลงก้นกระดก ให้รีบล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลล้างทันที แต่หากเกิดตุ่มน้ำและรอยแดงขึ้นแล้วสามารถทายาเพื่อรักษารอยแดงซึ่งจะหายไปเองประมาณ 2-3 วัน แต่หากมีอาการรุนแรงเนื่องจากแพ้พิษให้รีบพบแพทย์ แพทย์จะใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ในการรักษา ส่วนรอยดำที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ จางและหายไปเอง ไม่เป็นแผลเป็น

วิธีป้องกัน
เราสามารถป้องกันแมลงก้นกระดกด้วยการปิดหน้าต่างและประตูให้สนิท เนื่องจากแมลงประเภทนี้ชอบเข้ามาเล่นแสงไฟในเวลากลางคืน และตรวจเช็คบริเวณที่นอนเสมอว่าไม่มีแมลงอยู่ ที่สำคัญหากพบแมลงก้นกระดกห้ามสัมผัสโดยการปัด หรือบดขยี้ ควรใช้วิธีเป่า หรือสะบัดออก

17 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:13:49

Image-empty-state_edited.jpg

ผื่น 5 แบบ ที่แพทย์คิดว่าอาจเป็นอาการจากไวรัสโคโรนา

งานวิจัยโดยทีมแพทย์สเปนพบว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลบางคนเกิดผื่น 5 แบบด้วยกัน
ผื่นเหล่านี้มักจะเกิดในคนไข้อายุไม่มาก และเป็นอยู่หลายวันด้วยกัน

แม้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผื่นจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาทิ โรคอีสุกอีใส นักวิจัยระบุว่าพวกเขาแปลกใจที่พบผื่นหลายชนิดเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคโควิด-19

อย่างไรก็ดี ตอนนี้ยังไม่ถือว่านี่เป็นหนึ่งในอาการของโรคอย่างเป็นทางการ

ก่อนหน้านี้มีรายงานว่ามีคนไข้มีอาการที่เรียกกันว่า "Covid toe" หรือผื่นที่ขึ้นบริเวณเท้าของคนไข้โดยที่เจ้าตัวไม่ได้มีอาการอื่นแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ดร.อิกนาซิโอ การ์เซีย-ดอวัล หัวหน้าทีมวิจัยบอกว่า พบผื่นประเภท "maculopapules" ซึ่งเป็นผื่นนูนแบนสีแดง ซึ่งมักจะเกิดบริเวณลำตัว บ่อยที่สุด

ดร.การ์เซีย-ดอวัล บอกว่าแปลกที่พบผื่นหลายแบบในคนไข้ และบางทีเป็นชนิดที่เจาะจงมาก
"มันมักจะเกิดขึ้นภายหลังจากคนไข้แสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่อาการที่สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคได้"

คนไข้ทุกคนที่ร่วมในการศึกษาวิจัยครั้งนี้อยู่ในโรงพยาบาล และก็มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ โดยงานวิจัยได้ตีพิมพ์ในสัปดาห์นี้ในวารสารโรคผิวหนังสหราชอาณาจักร
แพทย์ในสเปนได้ส่งข้อมูลคนไข้ที่เกิดผื่นมาในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีคนไข้ทั้งหมด 375 คนด้วยกัน

ผื่น 5 ชนิดนี้ได้แก่

1.รอยโรค(บริเวณผิวที่มีความผิดปกติจากผิวหนังบริเวณอื่นๆ) ที่มีลักษณะไม่สมมาตรและเหมือนผื่นแดงที่เกิดจากอากาศเย็นจัด ทำให้เกิดอาการคันและเจ็บ โดยทั่วไปแล้วพบในคนไข้ที่อายุไม่มากและเป็นโดยเฉลี่ยแล้ว 12 วัน โดยเกิดขึ้นกับคนไข้ที่มีอาการไม่หนักและเกิดหลังมีอาการหลัก ๆ ของโรคไปแล้ว คิดเป็น 19% จากกรณีทั้งหมด

2.แผลพุพองเล็ก ๆ มักจะคัน และพบบริเวณแขนขาและลำตัว พบในคนไข้วัยกลางคน จะเป็นอยู่ราว 10 วัน และเกิดขึ้นก่อนคนไข้จะมีอาการอื่น ๆ คิดเป็น 9% จากกรณีทั้งหมด

3.บริเวณผิวหนังนูนเป็นสีขาว หรือชมพู ที่ดูเหมือนอาการลมพิษ และมักจะคัน ส่วนใหญ่เกิดตามตัว แต่บางครั้งก็เกิดบนฝ่ามือ คิดเป็น 19%จากกรณีทั้งหมด

4. ผื่นนูนแบนสีแดง หรือ "maculopapules" เกิดในคนไข้ 47% จากกรณีทั้งหมด จะเป็นอยู่ประมาณ 7 วัน โดยมักพบในคนไข้ที่มีอาการจากโควิด-19 ค่อนข้างหนัก

5. อาการผิวหนังที่เป็นสีแดงและสีน้ำเงิน และมีลักษณะคล้ายแห เป็นสัญญาณของการหมุนเวียนของเลือดที่ไม่ดี เกิดในคนไข้สูงอายุที่มีอาการหนัก

อย่างไรก็ดี รายงานวิจัยย้ำว่าผื่นชนิดต่าง ๆ เกิดจากสาเหตุอื่นได้ และอาจจะแยกประเภทยาก หากไม่มีแพทย์เฉพาะทาง

12 พฤษภาคม 2563 เวลา 08:08:29

Image-empty-state_edited.jpg

ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว ด้วยโบท็อกซ์

การฉีดโบท็อกซ์ ตัวยาจะเข้าไปหยุดการทำงานชั่วคราวของประสาทที่กระตุ้นต่อมเหงื่อ เมื่อเหงื่อออกน้อยแล้วกลิ่นตัวก็จะไม่มี การฉีดโบท็อกซ์เข้าใต้รักแร้ พบว่าปริมาณเหงื่อลดลงมากกว่าครึ่งภายใน 1 เดือน เพราะโดยเฉลี่ยการฉีดโบท็อกซ์ในการระงับเหงื่อนั้นจะฉีดอยู่ที่ปริมาณ 1 ขวด ซึ่งมีตัวสารโบท็อกซ์อยู่ 100 ยูนิต ก็จะฉีดเข้าที่บริเวณรักแร้ ข้างละ 50 ยูนิต แต่ในคนที่มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก จากประสบการณ์อาจไม่ต้องใช้ยาถึง 1 ขวด โดยเพียงแค่ 50 ยูนิตต่อ 2 ข้างหรือขางละ 25 ยูนิต ก็มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการลดเหงื่อใต้รักแร้ได้เพียงพอแล้วและยังช่วยลดค่า ใช้จ่ายให้แก่คนไข้อีกด้วย โดย ผลของการฉีดโบท็อกซ์พบว่าสามารถลดการหลั่งเหงื่อได้นาน 4 เดือนถึงเกือบ 1 ปี โดยส่วนมากการฉีดโบท็อกซ์เพื่อรักษาภาวะกลิ่นตัวหรือภาวะเหงื่อออกมาก ในแต่ละครั้งจะมีฤทธิ์นานได้ถึง 8-10 เดือนเลยทีเดียว แต่ระยะเวลาในการออกฤทธิ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ทำความเข้าใจวิธีการรักษา
วิธีการฉีดโบท็อกซ์ลดเหงื่อนั้นไม่ยุ่งยากเลย แพทย์จะใช้ยาฉีดในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย เข็มที่ใช้ฉีดมีขนาดเล็ก ก่อนฉีดจะทายาชาหรือประคบด้วยน้ำแข็งบริเวณที่จะฉีดเพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บ ในการฉีดก็จะฉีดในตำแหน่งที่ตื้นเฉพาะชั้นผิวหนังเท่านั้น ใช้เวลาในการฉีดไม่นาน หลังฉีดก็จะมีผลข้างเคียงเหมือนการฉีดยาทั่วไปนั่นแหละ เช่น อาการบวมเล็กน้อยแต่จะเป็นแค่ชั่วคราวและหายไปได้เอง ถ้าใครที่รู้สึกว่าปวดมากก็อาจรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการได้ หรือจะใช้การประคบด้วยความเย็นก็ช่วยได้ ส่วนอาการฟกช้ำเกิดขึ้นน้อยมาก จึงไม่ต้องกังวล

ผลลัพธ์ที่ได้
หลังฉีดโบท็อกซ์ จะเริ่มเห็นผลว่าเหงื่อลดลงตั้งแต่ช่วง 1-3 วันแรก ถ้าถึงขั้นแห้งสนิทใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งถือว่ารวดเร็วทันใจ ส่วนผลการรักษาจะอยู่ได้ประมาณ 4 – 12 เดือนต่อการรักษาแต่ละครั้ง

7 พฤษภาคม 2563 เวลา 03:46:33

Image-empty-state_edited.jpg

รักษาโรคสะเก็ดเงิน โดยไม่ต้องกินยา

รักษาโรคสะเก็ดเงิน โดยไม่ต้องกินยา
รักษาได้แล้วด้วย Scapho

"Scapho คืออะไร"
เป็นยาฉีดซึ่งมีส่วนประกอบของ sequiquumab ซึ่งใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินที่มีปานกลางหรือรุนแรงเพื่อป้องกันการปรากฏตัวของผิวหนังและอาการเช่นอาการคันหรือลอก

ยานี้มีส่วนประกอบของแอนติบอดีต่อมนุษย์ ซึ่งสามารถยับยั้งการทำงานของโปรตีน IL-17A ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างโรคสะเก็ดเงิน

วิธีใช้
การใช้ Scapho แตกต่างกันไปตามผู้ป่วยและประเภทของโรคสะเก็ดเงินดังนั้นควรให้คำแนะนำโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์และการรักษาโรคสะเก็ดเงิน

- ผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ -
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษาคือการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่มีอาการเจ็บคอหรืออาการคัดจมูก

2 พฤษภาคม 2563 เวลา 06:07:27

Image-empty-state_edited.jpg

Full Name 04

I'm a paragraph. To update me, go to the Data Manager. The Data Manager is where you store and collect data for your site.

1 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:47:48

Image-empty-state_edited.jpg

Full Name 03

I'm a paragraph. To update me, go to the Data Manager. The Data Manager is where you store and collect data for your site.

1 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:47:48

Image-empty-state_edited.jpg

อาการของฝีฝักบัว

ฝีฝักบัวเกิดจากการอักเสบของผิวหนังชั้นที่อยู่ลึกลงไปและบริเวณรูขุมขน มีลักษณะเป็นก้อนหนองในรูขุมขนหลายก้อนอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีอาการเจ็บเมื่อสัมผัสโดน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักพบบริเวณหลัง ต้นขา รักแร้ และด้านหลังลำคอ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจมีไข้และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย เมื่อตุ่มแดงยุบจะมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นมากกว่าฝีโดยทั่วไป

อาการของฝีฝักบัว

ในระยะแรกผู้ป่วยอาจรู้สึกคันผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ หลังจากนั้นจึงเกิดก้อนบวมแดงที่มีลักษณะเป็นก้อนหนองหลายก้อนอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยมีขนาดประมาณ 3-10 เซนติเมตร

นอกจากลักษณะดังกล่าว ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้
- รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัสผิวหนังที่อักเสบ
- ผิวหนังโดยรอบฝีบวมแดง
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีไข้ หรืออ่อนเพลีย
- เกิดแผลเล็ก ๆ บนหัวหนอง แผลบางจุดอาจแห้งและตกสะเก็ดร่วมกับมีน้ำเหลืองซึมออกมา

สาเหตุของฝีฝักบัว

ฝีฝักบัวมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus Aureus) ที่อยู่บนผิวหนัง โดยเฉพาะผิวบริเวณที่อับชื้น เช่น ปาก จมูก รักแร้ ขาอ่อน หรือขาหนีบ เป็นต้น ซึ่งโดยปกติเชื้อนี้มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย ทว่าเมื่อเชื้อเข้าสู่ผิวหนังผ่านรอยแผลหรือรอยขีดข่วน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองโดยส่งเม็ดเลือดขาวมากำจัดเชื้อดังกล่าว จึงส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและเกิดฝีซึ่งเป็นตุ่มหนองอักเสบตามมา หากเชื้อแบคทีเรียลุกลามสู่ใต้ชั้นผิวหนังก็อาจทำให้การอักเสบขยายวงกว้าง จนเกิดเป็นก้อนหนองอยู่รวมหลายก้อนและกลายเป็นฝีฝักบัวในที่สุด

โดยกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดฝีฝักบัวมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่
- ผู้ที่ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย
- ผู้ที่โกน แวกซ์ขน หรือมีบาดแผลตามผิวหนัง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะอาการป่วยอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้กำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ยากขึ้น
- ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัสออเรียส เนื่องจากการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อหรือเป็นฝีฝักบัวอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายได้
- ผู้ป่วยโรคผิวหนังชนิดอื่น ๆ เพราะโรคผิวหนังอย่างสิวหรือผื่นผิวหนังอักเสบอาจทำให้ผิวบอบบางหรือเกราะปกป้องผิวถูกทำลาย จึงทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย
- ผู้ป่วยโรคไตหรือโรคตับ
- ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

การรักษาฝีฝักบัว

การรักษาฝีฝักบัวสามารถทำได้หลายวิธี ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงนักอาจรักษาได้ด้วยตนเอง ซึ่งการรักษาฝีฝักบัวในขั้นต้น มีดังนี้

1.หลีกเลี่ยงการบีบหรือเกาฝี เพราะอาจส่งผลให้การติดเชื้อลุกลามเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น
2.แช่อวัยวะจุดที่มีฝีลงในน้ำอุ่น หรือประคบผิวหนังบริเวณดังกล่าวด้วยผ้าอุ่นประมาน 15 นาที/วัน หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดผ้าที่ใช้ด้วยน้ำร้อนและอบแห้งที่อุณหภูมิสูงเพื่อฆ่าเชื้อ
3.ใช้ผ้าพันแผลที่ปลอดเชื้อพันรอบแผล เพื่อช่วยรักษาความสะอาดบริเวณแผลที่เป็นฝี แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำร้อนและสบู่
4.รับประทานยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบ

ส่วนผู้ป่วยที่มีฝีขึ้นใกล้บริเวณจมูก กระดูกสันหลัง และดวงตา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา หรือผู้ที่รักษาอาการด้วยตัวเองตามวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล ก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน โดยแพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีต่อไปนี้

1. รับประทานยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจจ่ายยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานหรือยาทาภายนอกให้ผู้ป่วยใช้รักษานานอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
2. ใช้สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีสรรพคุณช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง และป้องกันการเกิดฝีซ้ำ
3. ผ่าตัดระบายหนองในฝีออก มักใช้กับผู้ป่วยที่มีฝีขนาดใหญ่และอยู่ลึก โดยแพทย์จะใช้มีดผ่าตัดหรือเข็มปลอดเชื้อสะกิดบนฝีให้เกิดแผลเล็ก ๆ แล้วระบายหนองภายในออกมา

ภาวะแทรกซ้อนของฝีฝักบัว

แม้ผู้ป่วยมักมีอาการไม่รุนแรงนัก แต่ฝีฝักบัวอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนบางประการ ดังนี้

1.แผลเป็น ผู้ป่วยที่เป็นฝีฝักบัวอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นหลังจากฝียุบแล้วมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นฝีทั่วไป
2.เชื้อดื้อยา เชื้อสแตฟฟิโลคอกคัสออเรียสบางตัวอาจทนต่อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเมธิซิลินได้ ทำให้รักษาได้ยากกว่าปกติ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดอื่นแทน
3.เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ เป็นการติดเชื้อที่ใต้ชั้นผิวหนังและเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้ผิวหนังบวมแดง เกิดความเจ็บปวด สัมผัสแล้วรู้สึกร้อน ผู้ป่วยอาจมีไข้ มึนงง คลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
4.ติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่ผิวหนังอาจลุกลามไปบริเวณอื่นของร่างกายและทำให้อวัยวะอื่น ๆ เกิดการอักเสบไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นปอด กระดูก ข้อต่อ หัวใจ ระบบประสาทส่วนกลาง หรืออาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการหนาวสั่น มีไข้สูง อ่อนเพลียอย่างมาก และหัวใจเต้นเร็ว หากไม่รีบรับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันฝีฝักบัว

โดยทั่วไปสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดฝีฝักบัว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

1.หลีกเลี่ยงการบีบหรือเกาผิวหนังบริเวณที่มีฝีหรือแผล
2.อาบน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากร่างกายเป็นประจำ
3.ล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำ
4.หลีกเลี่ยงการเกาแผลหรือรอยขีดข่วนตามร่างกาย โดยให้ทำความสะอาดแผลและปิดแผลด้วยผ้าพันแผลปลอดเชื้อจนกว่าจะหายเป็นปกติ
5.หลีกเลี่ยงการใช้เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น และควรซักทำความสะอาดสิ่งของดังกล่าวด้วยน้ำร้อนเป็นประจำ
6.รีบไปพบแพทย์หากพบว่าเป็นโรคผิวหนังหรือมีอาการเจ็บป่วยที่อาจก่อให้เกิดแผลตามร่างกาย

26 มิถุนายน 2563 เวลา 06:48:07

Image-empty-state_edited.jpg

กดสิว ดีจริงไหม ทำอย่างไรให้ถูกวิธี ?

กดสิวเป็นขั้นตอนการรักษาที่ช่วยให้สิวหายเร็วขึ้น ลดการเกิดสิวใหม่ และช่วยป้องกันสิวอุดตันพัฒนาไปเป็นสิวอักเสบ ซึ่งมีความรุนแรงขึ้นและอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นในภายหลังได้ แม้ว่าการกดสิวจะช่วยกำจัดสิวอุดตันได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเสี่ยงเกิดอาการอักเสบที่รุนแรงขึ้น ดังนั้น ควรศึกษาวิธีกดสิวที่ถูกต้องและปลอดภัยก่อนตัดสินใจทำ ทั้งการกดสิวโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและการลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ เป็นรอยดำ รอยหลุม หรือรอยแผลเป็น

กดสิว เป็นอย่างไร ?

การกดสิวเป็นการบีบผิวบริเวณที่เป็นสิว แล้วใช้เข็มหรืออุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อเจาะผิวหนังให้หนอง ของเหลว หรือสิ่งที่อุดตันอยู่ภายในสิวไหลออกมา แม้ทำให้สิวหาย แต่การกดสิวอาจเสี่ยงทำให้สิ่งสกปรกและแบคทีเรียซึมลึกสู่ผิวหนัง เพราะแบคทีเรียจากของเหลวในสิวอาจกระเด็นไปสัมผัสผิวหน้าส่วนอื่น จนทำให้ผิวบริเวณนั้นเกิดสิวขึ้นได้ หรืออาจมีแบคทีเรียสะสมที่มือแล้วนำมือไปสัมผัสใบหน้า จนเป็นเหตุให้สิวเกิดการอักเสบรุนแรง มีอาการบวมแดง ติดเชื้อ และอาจเป็นรอยแผลลึกที่รักษาได้ยาก

กดสิว เหมาะกับสิวประเภทใด ?

การกดสิวจะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของสิวด้วย ส่วนใหญ่การกดสิวจะได้ผลดีกับสิวอุดตันมากที่สุด ทั้งสิวหัวดำและสิวหัวขาว ซึ่งสิวเหล่านี้จะอุดตันบนใบหน้า ทำให้ผิวหน้าขรุขระไม่เรียบเนียน

อย่างไรก็ตาม แพทย์ผิวหนังจะกดสิวต่อเมื่อรักษาสิวด้วยวิธีอื่น เช่น การรับประทานยา หรือการใช้ยาแต้มสิวแล้วรักษาไม่ได้ผล โดยแพทย์จะหลีกเลี่ยงการกดสิวอักเสบ เช่น สิวมีหนอง สิวผด หรือสิวอุดตันที่อยู่ใกล้สิวอักเสบ รวมถึงอาจหลีกเลี่ยงการกดสิวให้กับผู้สูงอายุ และผู้ที่ใช้ยาทาสิวที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์

กดสิวโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

แพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีจะสามารถกดสิวได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย โดยในขั้นตอนของการกดสิว ผู้เชี่ยวชาญจะสวมถุงมืออนามัยเพื่อป้องกันแบคทีเรียที่สะสมอยู่บนฝ่ามือสัมผัสกับใบหน้า จากนั้นจึงใช้นิ้วบีบผิวบริเวณที่เป็นสิวขึ้นมา ใช้เข็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อเจาะหัวสิวให้เปิด แล้วใช้เครื่องมือกดสิวกดลงบนบริเวณที่เป็นสิวเบา ๆ เพื่อให้หัวสิวและของเหลวภายในสิวหลุดออกมา

ข้อดีและข้อเสียของการกดสิว

โดยปกติแล้ว การกดสิวจะปลอดภัยหากทำอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ทำในสถานที่ที่สะอาด และใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ซึ่งการรักษาสิวด้วยวิธีนี้จะช่วยกำจัดสิวอุดตันให้หายเร็วขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดสิวใหม่หากใช้วิธีอื่น ๆ ในการดูแลผิวหน้าร่วมด้วย เช่น การล้างหน้าและดูแลผิวหน้าให้สะอาดอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม การกดสิวที่ไม่ถูกวิธี ไม่รักษาความสะอาดให้ดี รวมถึงการแกะหรือบีบสิวอาจทำให้ปัญหาสิวแย่ลง อาจเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียจนเกิดการอักเสบ และอาจเกิดรอยแผลเป็นจากสิวได้ ดังนั้น หากต้องการกดสิว ทางที่ดีที่สุด คือ ไปพบแพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการเกิดปัญหาผิวหนังต่าง ๆ ตามมา

26 มิถุนายน 2563 เวลา 06:03:26

Image-empty-state_edited.jpg

แมลงกัดต่อย และวิธีรักษาอาการเบื้องต้นด้วยตัวเอง

แม้อาจเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงจากการถูกแมลงกัดต่อย เพราะเหล่าแมลงนั้นมักแฝงตัวอยู่ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ในสวนหลังบ้าน ในแม่น้ำ ตามแนวหญ้าป่าเขา หรือที่ใด ๆ ซึ่งเมื่อถูกแมลงกัดต่อยก็อาจเกิดรอยแดงที่ผิวหนัง เกิดอาการบวม หรืออาจรู้สึกปวดตามบริเวณดังกล่าว แต่หากอาการไม่รุนแรงมากก็อาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจนัก เพราะโดยส่วนใหญ่แมลงเหล่านี้ไม่ทำให้เกิดอาการป่วยที่รุนแรง และอาจรักษาหรือบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นด้วยตนเองได้ที่บ้าน ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

วิธีรับมือและบรรเทาอาการจากแมลงกัดต่อย

แผลที่เกิดจากแมลงกัดต่อยนั้น อาจแตกต่างกันไปตามชนิดของแมลง แต่โดยส่วนใหญ่มักเป็นตุ่มสีแดงเล็ก ๆ บนผิวหนัง และอาจทำให้รู้สึกคัน ปวด หรือมีอาการบวมในบริเวณดังกล่าว แม้อาการเหล่านี้มักสร้างความเจ็บปวดให้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ผู้ที่ถูกแมลงกัดต่อยก็อาจอยากรักษาอาการที่เกิดขึ้นให้หายไปด้วยตนเอง โดยอาจทำตามวิธีต่อไปนี้ เพื่อให้อาการหายดีภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน

- เมื่อถูกแมลงกัดต่อย ให้ย้ายไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย เพื่อไม่ให้แมลงกัดต่อยซ้ำได้อีก และล้างบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บด้วยน้ำและสบู่ รวมทั้งหมั่นรักษาความสะอาดบริเวณนั้น ๆ อยู่เสมอ
- หากถูกเห็บกัด มีขนของแมลง หรือมีเหล็กในติดอยู่ที่ผิวหนัง ให้นำสิ่งเหล่านั้นออกจากผิวหนังโดยใช้แหนบหรือปากกาเขี่ยขนของแมลงออก ใช้อุปกรณ์ดึงเห็บหรืออาจใช้แหนบดึงตัวเห็บโดยเฉพาะ และอาจใช้วัสดุที่แข็งอย่างสันบัตรเครดิตขูดเหล็กในของแมลงจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง เพื่อให้เหล็กในหลุดออก แต่ห้ามบีบผิวเพื่อให้เหล็กในหลุดออกมาโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้พิษกระจายออกมาได้
- ให้ยกบริเวณที่แมลงกัดต่อยให้สูงขึ้นหากทำได้ เพื่อลดอาการปวดบวม และควรเฝ้าสังเกตบริเวณดังกล่าวในวันถัดไปด้วยว่ามีอาการปวดบวมหรือแดงมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อได้
- ประคบเย็นบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อยด้วยถุงน้ำแข็ง ผ้าชุบน้ำเย็น หรือผ้าห่อน้ำแข็งเป็นเวลาประมาณ 10 นาที จากนั้นให้พัก 10 นาทีแล้วประคบใหม่ โดยอาจทำเช่นนี้สลับไปมาเรื่อย ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดบวมหรือคัน ทั้งนี้ อาจอาบน้ำเย็นเพื่อช่วยลดอาการคันด้วยก็ได้
- ห้ามแกะเกาแผลหรือทำให้แผลเปิด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม และอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากเป็นเด็กเล็กที่ถูกแมลงกัดต่อย ควรตัดเล็บเด็กให้สั้น และหมั่นดูแลความสะอาดเล็บของเด็กอยู่เสมอ
- ห้ามรัดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บด้วยสายรัดใด ๆ และควรถอดเครื่องประดับที่รัดแน่นบริเวณนั้นออก เพราะหากบริเวณดังกล่าวบวมขึ้น อาจทำให้ถอดเครื่องประดับออกได้ยาก
- อาจนำสำลีก้านไปจุ่มกับนมแล้วมาป้ายบริเวณที่แมลงกัดต่อย เพราะโปรตีนในน้ำนมอาจช่วยลดอาการบวม แดง หรือการอักเสบ
- อาจลองทาบริเวณที่แมลงกัดต่อยด้วยยาสีฟัน เบกกิ้งโซดาผสมน้ำ Tea Tree Oil น้ำมันลาเวนเดอร์ หรือหอมหั่นสด เพื่อช่วยลดอาการที่เกิดขึ้น แต่ต้องเป็นผู้ที่ไม่แพ้สารต่าง ๆ เหล่านี้
- รับประทานยาพาราเซตามอลหรือยาไอบูโพรเฟนเพื่อบรรเทาอาการปวด หรืออาจลดอาการคันโดยการรับประทานยาต้านฮิสตามีนชนิดเม็ด ใช้ครีมหรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของไฮโดรคอร์ติโซนหรือคาลาไมน์บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ห้ามใช้ยาอื่นหากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็น Reye’s Syndrome ได้

หลังแมลงกัดต่อย มีอาการแบบไหนจึงควรไปพบแพทย์ ?

ผู้ที่ถูกแมลงกัดต่อยควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน สับสน มีปัญหาด้านการหายใจ หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อหดเกร็ง เป็นตะคริว มีอาการบวมที่เปลือกตา ริมฝีปาก ปาก และคอ เป็นลม หรือเป็นลมพิษ นอกจากนี้ หากรู้สึกว่าตนเองไม่สบายหรือมีอาการคล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ในหลายวันถัดมาหลังจากถูกแมลงกัดต่อย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาการติดเชื้อหรือโรคที่อาจเกิดขึ้นจากแมลงเหล่านั้น รวมทั้งหากแผลมีความรุนแรงขึ้นและเป็นไม่หายหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน

22 มิถุนายน 2563 เวลา 06:48:34

Image-empty-state_edited.jpg

ขนคุด เกิดจากอะไร? และเคล็ดลับการกำจัดขนคุด

ขนคุด (Keratosis Pilaris) เป็นภาวะทางผิวหนังที่เกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขน มักพบว่ามีผิวแห้ง เป็นปื้นหยาบ และเป็นตุ่มนูนที่รูขุมขน เวลาลูบไปที่บริเวณดังกล่าวจะให้ความรู้สึกสาก ๆโดยมักเกิดขึ้นบริเวณแขนส่วนบน ต้นขา ก้นหรือแก้ม ปกติจะไม่ทำให้รู้สึกคันหรือเจ็บ

อาการของขนคุด

ขนคุดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กเล็ก ซึ่งทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
1. มีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง
2. มักเกิดขึ้นที่แขนส่วนบน ต้นขา แก้มหรือก้น และจะไม่ทำให้เกิดอาการคันและเจ็บ
3. บริเวณผิวหนังที่เป็นตุ่มจะมีผิวที่แห้งและหยาบกร้าน
4. เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อมีความชื้นในอากาศน้อย มักจะทำให้อาการแย่ลงหรือผิวบริเวณที่เป็นขนคุดแห้งกว่าเดิม
5. เมื่อลูบที่ผิวหนังจะทำให้รู้สึกคล้ายกระดาษทราย

เมื่อไรที่ควรพบแพทย์?
โดยปกติอาจไม่มีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่หากอาการที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรือเกิดความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์ ผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อขอคำปรึกษาเพื่อหาทางแก้ไขได้

สาเหตุของขนคุด ขนคุด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการสะสมของเคราติน (Keratin) โดยเคราตีนเป็นโปรตีนที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการการติดเชื้อหรือป้องกันการดูดซึมสารอันตรายต่าง ๆ ซึ่งการสะสมของเคราตินทำให้เกิดการอุดกั้นบริเวณรูขุมขน จึงทำให้ขนไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติและเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสะสมของเคราติน แต่สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมหรือภาวะทางผิวหนังอื่น ๆ เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)

นอกจากนั้น ผู้ที่มีผิวแห้งมักมีโอกาสเกิดขนคุดได้มาก และอาจมีอาการแย่ลงเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว เพราะมีความชื้นในอากาศน้อยและมักทำให้ผิวแห้ง

การวินิจฉัยขนคุด โดยปกติผู้มีขนคุดไม่มีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพราะเป็นภาวะที่ไม่มีความร้ายแรง แต่หากผู้ป่วยมีความต้องการพบแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยได้โดยการตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการ และไม่มีความจำเป็นต้องมีการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติม

นอกจากนั้น การวินิจฉัยหรือศึกษาอาการของผู้ป่วย จะมุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการเรื้อรัง รวมไปถึงตรวจสอบถึงความจำเป็นในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และอาจมีการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยว่าภาวะขนคุดไม่ได้เป็นโรคติดต่อและไม่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมแต่อย่างใด

การรักษาขนคุด

โดยส่วนใหญ่ เมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ขนคุดจะค่อย ๆ หายไปเอง และสามารถใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นดูแลรักษาผิวเพื่อทำให้บริเวณที่เป็นขนคุดมีอาการดีขึ้นได้ แต่หากใช้แล้วไม่สามารถช่วยให้อาการดีขึ้น ก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอครีมที่สั่งโดยแพทย์มาใช้ได้ โดยแพทย์อาจจ่ายยาต่อไปนี้

- ครีมยาช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว แพทย์จะให้ใช้ครีมยาที่มีส่วนผสมของกรดอัลฟาไฮดรอกซี กรดแลคติก กรดซาลิไซลิก หรือยูเรีย ซึ่งนอกจากครีมที่มีส่วนผสมเหล่านี้จะช่วยผลัดและกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป ยังช่วยให้ความชุ่มชื้นและช่วยให้ผิวที่แห้งกร้านมีความนุ่มนวลขึ้น นอกจากนั้น แพทย์จะสามารถแนะนำวิธีการใช้ที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตาม กรดที่ผสมอยู่ในครีมเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการแดงหรือระคายเคืองต่อผิวได้ ซึ่งจะไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก

- ครีมป้องกันการอุดตันของรูขุมขน แพทย์จะให้ครีมยาวิตามินเอ เช่น ยาเตรทติโนอิน ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเซลล์และป้องกันการอุดกั้นของรูขุมขน อย่างไรก็ตาม ครีมยาชนิดนี้อาจทำให้ผิวระคายเคืองหรือผิวแห้งได้ และสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร แพทย์จะไม่ให้ใช้หรืออาจเลือกใช้วิธีอื่นรักษาแทน

- ทำเลเซอร์ไอพีแอล (Intense Pulsed Light: IPL) หรือเพาซ์ดายเลเซอร์ (Pulse Dye Laser) จะช่วยในการลดอาการแดงที่ผิวหนัง แต่จะไม่สามารถลดความหยาบหรือผิวที่ขรุขระได้ หรือบางรายอาจแนะนำให้ทำเลเซอร์กำจัดขน

ภาวะแทรกซ้อนของขนคุด
ขนคุดไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดความรำคาญและความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์ นอกจากนั้น พบว่าผู้ที่มีอาการขนคุดมักจะมีโรคหรือภาวะทางผิวหนังอื่น ๆ ด้วย เช่น ผิวหนังอักเสบออกผื่นหรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รวมไปถึงผู้ที่มีสภาพผิวแห้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดขนคุดได้มากขึ้น

การป้องกันขนคุด

แม้ไม่สามารถป้องกันการเกิดขนคุดได้ แต่สามารถทำให้อาการหรือรูปลักษณ์ดีขึ้นได้ ด้วยการดูแลผิวไม่ให้แห้งและมีความชุ่มชื้น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1.ไม่ควรเกาบริเวณตุ่มรูขุมขนหรือขัดถูผิวหนังบริเวณที่เป็นขนคุดรุนแรงเกินไป
2.เวลาอาบน้ำควรใช้น้ำอุ่นที่อุณหภูมิไม่สูงจนเกินไป และเมื่อต้องอาบน้ำ แช่น้ำ หรือว่ายน้ำ ควรจำกัดเวลาอยู่ในน้ำไม่ให้นานจนเกินไป ประมาณ 10 นาที หรือน้อยกว่า เพราะเมื่ออาบน้ำร้อนหรืออยู่ในน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ไขมันที่ผิวหนังถูกกำจัดไปและทำให้ผิวแห้ง
3.ควรหลีกเลี่ยงการใช้สบู่อาบน้ำที่ทำให้ผิวแห้ง โดยสามารถกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยผ้าขนหนูหรือฟองน้ำที่ใช้ขัดตัวแทน
4.ใช้ครีมบำรุงที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นประจำ โดยหลังจากอาบน้ำในขณะที่ผิวกำลังหมาด ๆ สามารถใช้ครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ซึ่งอาจมีส่วนผสม เช่น ลาโนลิน (Lanolin) ปิโตรเลียม เจลลี่ (Petroleum Jelly) หรือกลีเซอรีน (Glycerine)
5.หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่คับหรือเข้ารูปจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการเสียดสีที่ผิวหนัง

20 มิถุนายน 2563 เวลา 08:54:50

Image-empty-state_edited.jpg

เคลียร์สิวเรื้องรัง สิวดื้อยาด้วย "แสงรักษาสิว"

เชื่อว่าคนเป็นสิวหลายคนคงกังวลกับปัญหาสิวที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีผิวมัน เป็นสิวง่าย ชอบเป็นสิวอักเสบ สิวอุดตันซ้ำซาก ทั้งที่ทายาหรือครีมรักษาสิวมาโดยตลอด แต่สิวก็ยังไม่มีทีท่าลดลง เผลอๆบางคนกลายเป็นสิวดื้อยาเลยก็มี เป็นๆหายๆ เป็นมากกว่าหาย กลุ้มใจไปตามๆกัน

มีวิธีรักษาสิวเรื้อรัง สิวดื้อยา มาฝากครับ วิธีที่ว่าคือ "การฉายแสงรักษาสิว" ตัวช่วยลดการเกิดสิวและรอยสิวที่น่าสนใจ ว่าแต่การฉายแสงรักษาสิว คือ อะไร? ดีอย่างไร? ช่วยรักษาสิวได้จริงหรือ? วันนี้รู้กันครับ

ฉายแสงรักษาสิว คือ อะไร?
คือ การฉายแสงเย็นที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกันลงสู่ผิว เพื่อแก้ปัญหาผิวที่แตกต่างกันออกไป โดยแสงเย็นจะช่วยปรับสมดุลของเคมีในเซลล์ให้เข้าสู่ภาวะปกติ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย P. Acne ซึ่งเป็นต้นเหตุการเกิดสิวอักเสบ ช่วยลดการอักเสบของผิว ยับยั้งการสร้างเม็ดสี ต้นเหตุการเกิดรอยดำจากสิว กระตุ้นการสร้างเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นหนังแท้ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

ฉายแสงรักษาสิว ร้อนมั้ย มีผลข้างเคียงหรือเปล่า?
อย่างที่บอกไว้ข้างต้น ว่าแสงที่ปล่อยออกมาเป็นแสงเย็น ดังนั้นขณะทำจะรู้สึกอุ่นๆ ไม่รู้สึกร้อนผิวหรือแสบผิว ไม่ก่อให้เกิดรอยแผล หรือสะเก็ดแผลแต่อย่างใด แต่ในบางคนหลังฉายแสงรักษาสิว อาจมีอาการผิวหน้าแดงเกิดขึ้น ไม่ต้องกังวลครับ หลังทำอาการนี้จะหายไปเองภายใน 1-2 ชั่วโมง
นอกจากนี้ก่อนฉายแสง ทางคลินิกจะทาเจลเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการระคายเคืองในขณะฉายแสงร่วมด้วย

ฉายแสงรักษาสิว ทำนานมั้ย?
ใช้เวลาในการฉายแสงประมาณ 30-50 นาที

ฉายแสงรักษาสิว ต้องพักฟื้นหน้าหรือไม่?
หลังจากฉายแสงรักษาสิวแล้ว ผู้รับบริการไม่ต้องพักฟื้นผิวหน้า สามารถล้างหน้า ทาครีม หรือแต่งหน้า ได้ตามปกติครับ
ทำกี่ครั้งถึงจะเห็นผล
เนื่องจากการฉายแสงรักษาสิว เน้นปรับสมดุลผิวหน้า ช่วยควบคุมความมัน และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสิว ดังนั้นจึงควรทำต่อเนื่องประมาณ 3-5 ครั้ง ขึ้นไป เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีครับ

ฉายแสงรักษาสิวเหมาะกับใคร?
เนื่องจากแสงที่ใช้มีความยาวคลื่นหลายช่วง จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาได้หลายรูปแบบ ดังนั้นการฉายแสงจึงเหมาะกับ
- คนเป็นสิว ที่มีผิวมัน มีปัญหาสิวอักเสบเรื้อรัง
- คนเป็นสิวดื้อยา ทายาแล้วไม่ค่อยได้ผล
- คนเป็นสิว ที่ไม่อยากรักษาสิวด้วยยาแบบรับประทาน
- คนที่มีปัญหารอยสิว รอยดำ จุดด่างดำจากสิว ผิวหน้าหมองคล้ำ
- คนที่ต้องการลดความเข้มของฝ้า กระ อยากให้ผิวสม่ำเสมอขึ้น
- คนที่ต้องการกระชับรูขุมขน อยากให้ผิวหน้าเรียบเนียนขึ้น

13 มิถุนายน 2563 เวลา 06:47:53

Image-empty-state_edited.jpg

รู้ทัน “รังแค” เพื่อรักษา และป้องกัน

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ตอนเช้า ๆ อากาศเย็น พอตอนบ่ายกลับร้อนอบอ้าว อากาศเปลี่ยนแปลงแบบนี้ทุกวัน คุณรู้หรือไม่ว่าอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหารังแค ปัญหารังแคทำให้คุณขาดความมั่นใจ เพราะต้องคอยกังวลว่าบนไหล่จะมีเศษรังแคร่วงลงมาตอนไหน ยิ่งถ้าต้องใส่เสื้อสีเข้ม ๆ แล้วล่ะก็ วันนั้นทั้งวันคุณจะอยู่อย่างไม่มีความสุขแน่นอน

วันนี้ จะพาไปรู้จักกับรังแค ว่ารังแคคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร และมีทางรักษาอย่างไรบ้าง เพื่อให้คุณได้ป้องกันและรักษารังแคอย่างถูกวิธี จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

รังแค คืออะไร?
เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับหนังศีรษะและพบได้บ่อยกับคนทุกเพศทุกวัย เกิดจากการที่ผิวหนังเกิดการผลัดเซลล์ผิวที่เร็วหรือมากกว่าปกติ ก่อให้เกิดอาการคัน หนังศีรษะแห้ง การเกิดรังแคสามารถเกิดได้ทั่วทั้งบริเวณศีรษะ ไม่ใช่แค่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รังแคไม่ใช่โรคติดต่อและไม่เป็นอันตราย และส่วนใหญ่สามารถรักษาและควบคุมอาการได้ไม่ยาก

ปัญหารังแค สังเกตได้ด้วยตัวคุณ
1.มีสะเก็ดสีเหลืองหรือขาว มีลักษณะมันวาวเป็นแผ่นแบนหรือแผ่นบาง ๆ หลุดออกมาจากหนังศีรษะ มักพบเห็นที่บริเวณหนังศีรษะ เส้นผม และไหล่
2.หนังศีรษะมันและแดง เป็นสะเก็ด มีอาการคันที่บริเวณหนังศีรษะร่วมด้วย
3.มักจะพบว่าเป็นมากในช่วงฤดูหนาวและอาการจะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน

สาเหตุของการเกิดรังแค มีอะไรบ้าง?
1.เกิดจากเชื้อรา ที่เรียกว่า เชื้อยีสต์ (Malassezia หรือ Pityrosporum) โดยปกติแล้ว เชื้อราเหล่านี้จะอาศัยอยู่ที่บริเวณหนังศีรษะของเราอยู่แล้ว โดยอาศัยการกินน้ำมันที่สร้างมาจากต่อมรากผมและต่อมไขมันเป็นอาหาร แต่หากเมื่อใดที่เชื้อราเหล่านี้มีการเจริญเติบโตรวดเร็วผิดปกติ จะทำให้เกิดการสร้างและผลัดเซลล์ผิวที่เร็วกว่าปกติด้วยเช่นเดียวกัน

2.ต่อมไขมันใต้หนังศีรษะผลิตน้ำมันมากเกินไป ส่งผลให้มีการกระตุ้นเชื้อรา จนมีการเจริญเติบโตที่เร็วกว่าปกติ

3.ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน เมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนแบบไม่คงที่ จะมีผลต่อการทำงานของต่อมภายในร่างกาย ร่วมทั้งต่อมไขมัน โดยจะทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติตามมา

4.การมีผิวและหนังศีรษะที่แห้ง จะก่อให้เกิดการผลัดผิวเร็ว จนตกสะเก็ดหลุดลอกออกมาเป็นแผ่น ๆ ได้

5.ไม่ค่อยสระผม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดรังแค เพราะเมื่อไม่สระผมจะทำให้เกิดการสะสมของน้ำมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วบนหนังศีรษะเพิ่มขึ้น จนนำมาซึ่งการสะสมของรังแคเพิ่มตามด้วย

6.สภาพอากาศ โดยเกิดจากสภาพอากาศหนาวเย็นหรืออากาศร้อนแห้ง โดยส่วนมากคนมักจะเป็นรังแคช่วงฤดูหนาว

7.การใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม เช่น มูส สเปรย์ เจล เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจจะมีส่วนผสมของสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองกับหนังศีรษะได้

8.ขาดสารอาหารบางประเภท เช่น ขาดวิตามินบี ซิงก์ (สังกะสี) หรือไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างเช่น โอเมก้า 3

9.ความเครียด ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดรังแคได้ เนื่องจากความเครียดจะส่งผลทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวนจนขาดความสมดุล

10.ดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็มีส่วนทำให้เกิดรังแคได้เช่นกัน



ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเป็นรังแคเพิ่มขึ้น
1.เพศและอายุ รังแคสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ปกติมักจะเกิดกับวัยหนุ่มสาวจนไปถึงวัยกลางคน แต่สำหรับบางรายสามารถเป็นได้ตลอดชีวิต นอกจากนั้น จากการวิจัยพบว่าเพศชายมีโอกาสเป็นรังแคได้มากกว่าเพศหญิง โดยมีฮอร์โมนเพศชายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดรังแค

2.มีน้ำมันที่เส้นผมและหนังศีรษะมาก เชื้อรามาลาสซีเซียสามารถเติบโตได้จากน้ำมันบนหนังศีรษะ เมื่อเชื้อราชนิดนี้มีมากกว่าปกติก็จะทำให้เกิดรังแค

3.โรคบางชนิด เช่น โร๕ผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน เชื้อราบนหนังศีรษะ โรคพาร์กินสัน ทำให้มีโอกาสเกิดรังแค รวมไปถึงการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือภาวะที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ก็อาจทำให้เกิดรังแคได้เช่นกัน

4.ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดรังแค ได้แก่ กรรมพันธุ์, การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป, รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เผ็ด หรือมีเกลือมาก, การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น กรดไขมัน และวิตามินบี, การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และความเครียด

เป็นรังแค รักษาอย่างไร?
1.ใช้แชมพูยาขจัดรังแค สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และควรสระผมทุกวันเพื่อกำจัดน้ำมันส่วนเกิน โดยควรเลือกใช้แชมพูขจัดรังแคสูตรอ่อนโยนหรือแชมพูที่มีส่วนผสมของยา เช่น ซิงค์ไพริไทออน (zinc pyrithione), คีโทโคนาโซล (ketoconazole), ซีลีเนี่ยมซัลไฟด์ (selenium sulfide) และไพรอคโทน โอลามีน (Piroctone Olamine)
2.อย่าใช้เล็บเกาหนังศีรษะระหว่างสระผม เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ควรนวดหนังศีรษะเบา ๆ ด้วยปลายนิ้ว เพื่อช่วยขจัดสิ่งตกค้างและเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หนังศีรษะให้ดียิ่งขึ้นด้วย
3.หลังสระผมควรเช็ดผมให้แห้งทุกครั้ง โดยใช้ผ้าขนหนูที่สะอาดค่อย ๆ ซับเบา ๆ ที่ผมให้แห้ง หรือปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาติก็ได้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความอับชื้นที่อาจจะเป็นต้นเหตุของการเกิดของเชื้อรา ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการขยี้ผมแรง ๆ

4.หวีผมเบา ๆ และใช้หวีที่มีซี่ห่างกัน โดยให้เริ่มหวีจากบริเวณรากผมไปตามความยาวของเส้นผม เพื่อเป็นการกระจายน้ำมันจากหนังศีรษะไปหล่อเลี้ยงความชุ่มชื้นให้ทั่วเส้นผม ไม่ควรใช้หวีที่มีความแข็งและมีซี่ถี่เกินไป เพราะอาจจะเกิดการดึงเส้นผมที่แรง จนทำให้เกิดการขาดร่วงของเส้นผมมากขึ้น

5.หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับหนังศีรษะ เช่น การทำสี การยืด การดัดผม หรือการใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะเป็นอันตรายต่อหนังศีรษะและเส้นผม โดยจะทำให้เกิดสารเคมีสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองแก่หนังศีรษะได้ และยังเป็นปัจจัยเสริมทำให้เกิดรังแคเพิ่มขึ้นอีกด้วย
6.หมั่นรักษาความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้กับผมหรือศีรษะ โดยควรหมั่นทำความสะอาดหมอน หรือปลอกหมอน หรือหมวกกันน็อกเป็นประจำ หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยลดการสะสมของเชื้อรา
7.เมื่ออยู่ในห้องแอร์ ควรปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสมประมาณ 25 องศา และไม่ควรให้ลมจากเครื่องปรับอากาศโดยหนังศีรษะโดยตรง อาจจะทำให้หนังศีรษะเสียสมดุลทำให้อาการรังแคหายยากขึ้น
8.หากใช้แชมพูขจัดรังแคมาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน และอาการไม่ดีขึ้นหรืออาการแย่ลง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

8 มิถุนายน 2563 เวลา 01:44:30

Image-empty-state_edited.jpg

E-Matrix เลเซอร์หลุมสิว ทำกี่ครั้งถึงจะเห็นผล?

สิวและรอยแผลเป็น ถือว่ารักษายากมากแล้ว แต่ร่องรอยที่เป็นหลุมสิวนี่สิ รักษายากซะยิ่งกว่า สาว ๆ คนไหนที่กำลังกังวลเรื่องหลุมสิวบนใบหน้า พยายามรักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายสักที เลเซอร์ไหนที่ว่าดีว่าเลิศก็ลองมาหมดแล้ว จะพาไปดูว่า เราจะต้องเลเซอร์หลุมสิว วิธีไหน ใช้เครื่องอะไรในการทำ และจะต้องทำกี่ครั้งถึงหาย ไปดูกันเลย

ปัญหาผิวหน้าไม่เรียบเนียน หลุมสิว รูขุมขนกว้าง ร่องริ้วรอยต่างๆ มักจะสร้างความไม่มั่นใจให้กับใครหลายๆ คน เพราะเป็นปัญหาผิวพรรณที่แก้ไขยาก เนื่องจากหลุมสิวเกิดจากการยุบตัวของชั้นผิวจนเกิดเป็นหลุมบ่อ จึงเป็นเรื่องยากที่จะกลับมาเติมเต็มได้อีกครั้งหนึ่ง

แม้ว่าหลุมสิว ผิวไม่เรียบเนียน รูขุมขนกว้าง จะรักษาได้ยาก เมื่อเป็นแล้วจะใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะหาย แต่ด้วยเทคโนโลยีความงามที่ทันสมัยของ Sublative E-Matrix จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถแก้ไขปัญหาหลุมสิว ผิวไม่เรียบเนียนได้ดี

Sublative E-Matrix เป็นการใช้พลังงานคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency) ที่ปล่อยพลังงานลงสู่ชั้นผิวในรูปแบบทรงปิรามิด ทำให้พลังงานมีการกระจายลงไปในชั้นคอลลาเจนของผิวชั้นในได้เป็นบริเวณกว้างและลึก ทำให้ริ้วรอย และหลุมสิวตื้นขึ้น รูขุมขนกระชับขึ้น ผิวมีความยืดหยุ่นดีขึ้น และมีความปลอดภัยสำหรับทุกสภาพผิวพรรณ

การทำ Sublative E-Matrix เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีปัญหารอยแผลเป็น หลุมสิว ริ้วรอย รูขุมขนกว้าง ผิวไม่เรียบเนียน ผิวขรุขระ ส่วนความรู้สึกขณะทำการรักษานั้น คนไข้อาจรู้สึกคล้ายๆ ผิวโดนดีดเบาๆ และมีความรู้สึกอุ่นๆ (ก่อนการรักษา แพทย์จะทำการทายาชาก่อนทำ) หลังทำเสร็จอาการต่างๆ จะดีขึ้นภายใน 1-2 ชั่วโมง

ผลลัพธ์ในการรักษา
- ประมาณ 4 สัปดาห์หลังทำ จะเริ่มสังเกตได้ว่ารูขุมขนกระชับขึ้น ผิวเรียบเนียนขึ้น ริ้วรอยแลดูจางลง
- เมื่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 3-5 ครั้ง จะสังเกตเห็นว่าผลการรักษา มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การดูแลตัวเองอย่างไรหลังการรักษา
- ผิวหน้าอาจจะมีสีแดงชมพู และมีสะเก็ดบางๆ ซึ่งจะหลุดออกได้เองภายใน 5-7 วัน แนะนำให้ทามอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อให้สะเก็ดหลุดออกได้ดียิ่งขึ้น
- ล้างหน้าด้วยสบู่อ่อนๆ ไม่ควรถูหน้าแรงๆ
- หลีกเลี่ยงการใช้สครับขัดหน้า งดการใช้กรดผลไม้ อย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังการรักษา
- หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังการรักษา และควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป โดยทาก่อนออกแดดประมาณ 30 นาที
- สามารถแต่งหน้าได้ตามปกติ

29 พฤษภาคม 2563 เวลา 03:42:19

Image-empty-state_edited.jpg

รับมืออย่างไร หากลูกของคุณเป็น โรคปากนกกระจอก

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบว่า การที่ลูกของคุณเป็น “โรคปากนกกระจอก” ไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร่างกายขาดวิตามินเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ลูกเป็นโรคปากนกกระจอกอีกด้วย

คุณหมอจากคลินิกผิวหนังหมอวิรัช จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับโรคปากนกกระจอกให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา อย่างไรบ้างนั้น อ่านได้ในบทความนี้เลย

- โรคปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) คืออะไร -
อาการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณมุมปาก ส่งผลให้ริมฝีปากเกิดอาการบวมแดง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการ 2-3 วัน แต่บางรายอาจจะมีอาการนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยต่างๆ

สาเหตุของโรคปากนกกระจอก
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าสาเหตุของโรคปากนกกระจอกนั้นเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง นอกจากการที่ลูกของคุณขาดวิตามินแล้ว ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ดังนี้

1.ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
ขาดวิตามินบี 9
ขาดวิตามินบี 6
ขาดวิตามินบี 2
ขาดวิตามินบี 3
ขาดสังกะสี
2.เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
3.กลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren’s Syndrome) ภูมิคุ้มกันแบบเรื้อรังที่ทำลายต่อม ซึ่งมีทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื่นกับปากส่งผลให้ปากแห้ง
4.เลียริมฝีปากบ่อย
5.สูบบุหรี่
6.ผิวแพ้ง่าย บอบบาง
7.มีอาการอักเสบอื่นๆ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s Disease)

- การสังเกตุอาการ -
สังเกตลูกให้ชัวร์ อาการแบบนี้ใช่ปากนกกระจอกหรือไม่
เมื่อลูกเป็นโรคปากนกกระจอกจะเริ่มมีอาการเจ็บปาก มีตุ่มหรือมีแผลที่มุมปาก และมีอาการอื่นๆร่วมด้วยดังนี้
1.เกิดอาการระคายเคือง คันบริเวณริมฝีปาก
2.มีรอยแดงและเลือดออกบริเวณมุมปาก
3.มีตุ่มพองบริเวณมุมริมฝีปาก
4.ริมฝีปากแห้งและแตก
5.รู้สึกแสบร้อนบริเวณริมฝีปาก
6.รับประทานอาหารลำบาก
7.เกิดสะเก็ดแผลที่มุมปาก

วิธีการรักษา
สำหรับวิธีการรักษาโรคปากนกกระจอกนั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นกับอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยมีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้
- โรคเบาหวาน หากลูกของคุณเป็นโรคเบาหวานแพทย์อาจใช้วิธีการรักษาด้วยอินซูลินหรือยารักษาโรคเบาหวาน
- ขาดวิตามิน เมื่อลูกเป็นโรคปากนกกระจอกที่เกิดจากสาเหตุร่างกายขาดวิตามิน แพทย์อาจจ่ายยาวิตามินให้รับประทาน
- ยาปฏิชีวนะ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียที่ปาก
- ยาต้านเชื้อรา แพทย์อาจแนะนำยาต้านเชื้อรา เช่น ไนสแตนดิน (Nystatin) ) คีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
- โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ไมโคนาโซล (Miconazole) เป็นต้น

25 พฤษภาคม 2563 เวลา 09:44:43

Image-empty-state_edited.jpg

อาการคันในร่มผ้าโรคผิวหนังที่ควรปรึกษาหมอ

สังคัง (Tinea Cruris) เป็นโรคติดเชื้อราบนผิวหนังที่ทำให้เกิดผื่นแดงอักเสบ เป็นขุย มีอาการคันตามผิวหนัง มักจะเกิดบริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ ต้นขาด้านใน ก้น หรือผิวหนังที่มีความอับชื้นสูง พบบ่อยในเพศชายวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยการรักษาส่วนใหญ่จะใช้ยาต้านเชื้อราที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา

อาการของสังคัง

ผิวหนังบริเวณที่เกิดการติดเชื้อจะเป็นผื่นแดง มีขอบของผื่นนูนชัด อาจเป็นแผ่นหรือเป็นวง บางรายผิวอาจลอก แตก หรือเป็นขุย มักเกิดที่ขาหนีบ ต้นขาด้านใน หรือลามไปยังผิวหนังใกล้เคียง เช่น หน้าท้อง หัวหน่าว และก้น แต่ไม่ค่อยลามไปยังถุงอัณฑะ โดยผื่นจะกระจายตัวเป็นลักษณะวงกลมหรือพระจันทร์เสี้ยว ผู้ป่วยจะรู้สึกคันตลอดเวลาและแสบร้อน สีของผิวหนังอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นหากออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเหงื่อและความอับชื้น

อย่างไรก็ตาม ลักษณะของผื่นจากโรคสังคังอาจมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรคผิวหนังอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อราในช่องคลอด โรคสะเก็ดเงิน โรคเซบเดิร์มหรือต่อมไขมันอักเสบ ผื่นผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Erythrasma) เป็นต้น หากผื่นดังกล่าวไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หรือรักษาด้วยยาต้านเชื้อราตามร้านขายยาแล้วกลับมาเป็นซ้ำในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด

สาเหตุของสังคัง

สังคังเกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) เช่นเดียวกับโรคกลาก ซึ่งเชื้อเหล่านี้ปกติจะอาศัยอยู่บนผิวหนัง เล็บ และเส้นผมของมนุษย์ โดยไม่เกิดอันตรายใด ๆ แต่เมื่อผิวหนังสัมผัสกับความชื้นสูงบ่อย ๆ เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีจนทำให้เกิดการติดเชื้อราตามมาได้ โดยเฉพาะผิวบริเวณที่อับชื้นและมีอุณหภูมิสูง อีกทั้งการติดเชื้อราอาจลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณใกล้เคียงหรือแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ง่ายด้วย

โดยสาเหตุหลักของการเกิดสังคังมาจากการสวมใส่เสื้อผ้าเปียกชื้น ไม่สะอาด หรือผิวหนังสัมผัสกับความชื้นเป็นเวลานานจนเชื้อราเติบโตอย่างรวดเร็ว และผู้ป่วยมักติดเชื้อบริเวณขาหนีบ ต้นขาด้านใน ก้น มือหรือเท้า

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบางประการที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อราได้ง่าย ดังนี้

เป็นนักกีฬาที่มีเหงื่อออกมากและผิวหนังอับชื้นหมักหมมเป็นเวลานาน
เป็นผู้ชาย หรือผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
ไม่รักษาสุขอนามัยของร่างกาย ไม่ค่อยอาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในใหม่ โดยเฉพาะหลังจากเล่นกีฬาหรือทำงานหนักจนมีเหงื่อออกมาก
มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ภาวะเหงื่อออกมาก น้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคที่ทำให้เกิดเหงื่อและแรงเสียดสีมากกว่าคนปกติ เป็นต้น
ชอบสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น หรือสวมเสื้อผ้าสกปรกซ้ำหลายครั้ง
สัมผัสเสื้อผ้าที่มีเชื้อราโดยตรง หรือใช้สิ่งของที่ติดเชื้อราร่วมกับผู้อื่น เช่น ชุดชั้นใน ชุดกีฬา ผ้าเช็ดตัว หวี กรรไกรตัดเล็บ เป็นต้น

การรักษาสังคัง

การรักษาดูแลอาการด้วยตนเอง โรคสังคังส่วนใหญ่รักษาด้วยการทายาต้านเชื้อรา ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมักไม่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แต่สามารถหาซื้อยาทาได้เองจากร้านขายยา และควรดูแลตนเองตามคำแนะนำ ดังนี้

1.ทายาต้านเชื้อราตามคำสั่งแพทย์หรือเภสัชกรอย่างสม่ำเสมอ
2.ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่ติดเชื้อ ควรให้ผิวหนังแห้งสนิทอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ผิวเปียกชื้น
3.เปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในทุกวัน
4.เลือกสวมเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี โปร่งสบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป
5.รักษาอาการป่วยติดเชื้อราประเภทอื่น ๆ ให้หายขาด เช่น โรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือไม่หายขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป ซึ่งอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายเป็นปกติ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 เดือน ผู้ป่วยควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง

- การรักษาด้วยยา แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยารักษาซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ยาทาผิวหนัง มีอยู่หลายรูปแบบ ทั้งครีม โลชั่น หรือสเปรย์ แพทย์มักแนะนำให้ทายาวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรอ่านฉลากยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยมีตัวอย่างยาทาผิวหนังเพื่อต้านเชื้อรา เช่น ยาไมโคนาโซล ยาอีโคนาโซล ยาคีโตโคนาโซล ยาโคลไตรมาโซล ยาเทอร์บินาฟีน ยาแนฟทิไฟน์ ยาอันดีไซลินิกแอซิด เป็นต้น

2. ยารับประทาน ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อราเป็นบริเวณกว้าง เป็นอย่างเรื้อรัง หรือไม่ตอบสนองต่อยาทา โดยต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาให้ เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงและใช้ระยะเวลาในการรักษาแตกต่างกัน โดยมีตัวอย่างยารับประทานเพื่อต้านเชื้อรา เช่น ยาคีโตโคนาโซล ไอทราโคนาโซล และกริซีโอฟูลวิน เป็นต้น นอกจากนี้ หากเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียด้วย แพทย์อาจต้องปรับยาต้านเชื้อราและให้ยาปฏิชีวนะเพิ่มเติม ดังนั้น หากสังเกตพบรอยผื่นมีของเหลวไหลออกมา ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์อีกครั้ง เพราะเป็นสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ควรได้รับการรักษา
ภาวะแทรกซ้อนของสังคัง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคสังคังพบได้ไม่บ่อยนัก แต่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยบางราย โดยมีอาการ เช่น

- ผื่นอาจแพร่กระจายลุกลามไปยังขาหนีบ ต้นขา และอวัยวะเพศ
- บางกรณีอาจเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังจากการเกาหรือถูผิวหนังจนระคายเคือง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฝีหรือเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) ตามมา
- หลังจากผื่นทุเลาลง ผิวหนังอาจเกิดรอยดำหรือรอยด่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ค่อยก่อให้เกิดแผลเป็นถาวร

20 พฤษภาคม 2563 เวลา 07:20:36

Image-empty-state_edited.jpg

โรคน้ำเหลืองไม่ดี มีอยู่จริงหรอ แล้วคืออะไร?

“เขาบอกว่า...เป็นโรคน้ำเหลืองไม่ดี”

ตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ที่เราออกไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ นอกบ้าน หรือการเข้าค่ายลูกเสือ เนตรนารีที่ต่างจังหวัด เรามักจะได้แผลหรือรอยตุ่มยุงกัดกลับมาด้วยเป็นของฝากเสมอ แต่กลับกลายเป็นว่า ของฝากจากนอกบ้านนี้ ไม่ได้หายไปจากเราในทันที เมื่อมันเริ่มเป็นตุ่มคัน บ้างก็เป็นผื่นแดง บวม สร้างความทรมาน เจ็บปวดกับเรานานเป็นอาทิตย์ จนทนไม่ไหว ซึ่งอาการนี้หายคนคงจะคุ้นๆ ชื่อเพราะบ้างก็ว่าเป็นกรรมพันธุ์สืบทอดมาตั้งแต่มาตั้งแต่ต้นตระกูลรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ นั่นคือโรคน้ำเหลืองไม่ดี และในปัจจุบันก็มียาเฉพาะทางเกิดขึ้นมากมาย ทั้งแบบทา แบบทาน หรือแม้กระทั่งเครื่องดื่มบางชนิดก็ยังมีสรรพคุณที่สามารถช่วยในเรื่องของการรักษาโรคน้ำเหลืองไม่ดีนี้ได้อีกด้วย

แต่ในความจริงแล้ว โรคน้ำเหลืองไม่ดี ไม่มีอยู่จริงในวงการแพทย์ เป็นเพียงแค่ ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Impetigo ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคที่เรียที่ชื่อว่า Staphylococcus aureus และ Streptococcus pyogenes ที่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้ทั้งนั้น เพียงแค่การลุกลามและเรื้อรังของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการดูแลและรักษาอาการนั้นมากน้อยแค่ไหน

การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง นั้นมาจาก เชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรค ที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น พงหญ้า หนองน้ำ บ่อโคลน ในทราย สนามเด็กเล่น หรือแม้แต่ลานซักล้างหลังบ้านของเรา ซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยในชีวิตประจำวัน สิ่งสำคัญที่ในการรักษาโรคนี้คือ การรักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น อาบให้สะอาด ไม่แกะ ไม่เกาแผล เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบที่แผล ทำให้หายช้ากว่าเดิม
ทางที่ดีเมื่อเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ควรพามาหากุมารเวช หรือหมอผิวหนังเฉพาะทาง ให้ดูอาการและจ่ายยาให้ถูกต้องเพื่อรักษาอาการ ไม่ควรพ่นยาสมุนไพร หรือยาต้มที่ผ่านการรับรองทางการแพทย์ หรือแม้แต่ การเอาแอลกอฮอล์ล้างแผลนั้นก็ไม่ใช่ทางรักษาที่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะแบคทีเรียที่น้ำยาฆ่าเชื้อใช้ได้ผล มีไม่กี่ประเภท อาจไม่ครอบคลุมกับเชื้อแบคทีเรียที่เราเจอก็เป็นได้

15 พฤษภาคม 2563 เวลา 08:17:12

Image-empty-state_edited.jpg

หลุมสิวเกิดจากอะไร รู้ทันสาเหตุหลุมสิวและวิธีการรักษา ฟื้นฟูผิวหน้าให้กลับมาเรียบเนียนจากแผลหลุมสิว

สาเหตุของหลุมสิวบนใบหน้าและการป้องกัน

สาเหตุของหลุมสิวบนใบหน้า
แผลเป็นจากสิว อาจเป็นแค่หลุมเล็กๆ ผิวขรุขระ ไม่เรียบเนียน จนถึงเป็นมาก เนื้อเยื่อบริเวณที่เคยมีหัวสิวอักเสบยุบลง จนกลายเป็นหลุมแผลเป็นทิ้งไว้ โดยสิวที่อักเสบจะมีทั้งเชื้อแบคทีเรียและหนองอยู่ภายใน ซึ่งขบวนการอักเสบจะก่อให้เกิดเอ็นไซม์ ที่ทำร้ายผิวโดยทำให้คอลลาเจนและเนื้อเยื่อโดยรอบถูกทำลาย ถ้าสิวเม็ดไม่ใหญ่นักก็จะทิ้งแผลเป็นขนาดเล็ก ถ้าสิวเม็ดใหญ่โดยเฉพาะสิวหัวช้างก็จะลงลึกถึงชั้นผิวหนังชั้นในเกิดเป็นหลุมลึกและผังผืดตามมา

การรักษาแผลเป็นสิวที่ดีที่สุด คือ เริ่มรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นใหม่ๆ ช่วงที่เป็นใหม่ๆ ผังผืดโดยรอบไม่แข็งมาก การรักษาจะได้ผลดีกว่าที่ทิ้งไว้ จนกลายเป็นแผลเก่า การป้องกันการเกิดแผลเป็นจากสิวก็คือ การหมั่นทายารักษาสิวอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง เพื่อรักษาสิวให้หายเร็วๆ และป้องกันสิวใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น ส่วนแผลเป็นสิวที่เกิดจากการแกะเกาของเจ้าของเอง ก็พบบ่อยๆ ป้องกันได้โดยห้ามแกะสิวเอง ถ้ารู้สึกคันบนใบหน้าควรพบแพทย์รักษาให้ผิวหายอักเสบ อาการคันก็จะหายไป

วิธีรักษาแผลเป็นหลุมสิว
มีเลเซอร์และเทคโนโลยีหลายตัวที่ช่วยรักษาแผลป็นให้ดีขึ้นได้ แต่จะขอกล่าวถึง Ematrix

E-Matrix หลุมสิว ผิวเรียบกระชับ
คือนวัตกรรมการผลัดเซลล์ผิวใหม่ภายใต้คอนเซปต์ที่เรียกว่า Sublative Rejuvenation ด้วยระบบ fractional ที่พัฒนาพิเศษ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี โดยการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง Radiofrequency,RF ซึ่งทำให้พลังงาน RF กระจายความร้อนลงลึกได้บริเวณที่ต้องการรักษาได้อย่างแม่นยำ จึงสามารถ กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ได้อย่างตรงจุด
นอกจากนี้ความร้อนที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อโดยรอบ จะช่วยในกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ผิวและเร่งกระบวนการสร้างคอลลาเจนใหม่ให้เกิดขึ้น มีความปลอดภัยกับทุกสภาพผิวอีกทั้งยังฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

Sublative Rejuvenation คืออะไร
คือนวัตกรรมที่ใช้ระบบ Fractional ที่พัฒนาพิเศษ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี ทำให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอก (ablation and resurfaceing) โดยทำให้เกิดการทำลายผิวชั้นบนเพียงเล็กน้อย (low epidermal disruption) ในขณะที่พลังงานสามารถลงไปกระตุ้นผิวชั้นล่างได้มาก (high derma impact) ระยะพักฟื้นเพียงเล็กน้อย (minimal downtime มีประสิทธิภาพสูง

หลังทำเลเซอร์ผิวจะออกชมพูแดง ๆ พอวันที่ 2-4 จะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ซึ่งจะลอกหลุดไปใน 4-10 วัน หลังสะเก็ดหลุดจะเป็นผิวปกติ สำหรับแผลเป็น หลุมสิว จะเห็นผลดีขึ้น หลังจากทำ 1-2 เดือน

ความถี่ในการรักษา
แนะนำการรักษาต่อเนื่อง 3 ครั้ง ก็สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน ระยะห่าง 4-6 สัปดาห์ต่อครั้ง หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ผลลัพธ์หลังการรักษาด้วย E-Matrix , GoldenSem
- ผิวเนียนใส รูขุมขนกระชับ
- สีผิวสม่ำเสมอ จุดด่างดำลดลง
- ลดเลือนริ้วรอย
- ผิวตึงกระชับ
- หลุมสิวตื้นขึ้น ผิวหน้าเรียบเนียนอย่างเห็นได้ชัด
- แผลเป็นจากอุบัติเหตุดีขึ้น เรียบเนียนขึ้น

จำนวนครั้งและระยะเวลาในรักษาหลังทำ E-Matrix, Golden Sem
หลังรักษาผิวจะออกชมพูถึงแดงจัด บางคนบวมเล็กน้อยประมาณ3-7 วัน (แล้วแต่สภาพผิว) เซลล์ผิวใหม่จะถูกสร้างมาทดแทนภายใน 24ชั่วโมง เซลล์เก่าจะลอกหลุดเป็นจุดน้ำตาลเล็กๆ Bronzing ช่วงนี้ผิวจะเข้มขึ้น เป็นจุดน้ำตาลเล็กๆ ซึ่งจะค่อยๆหลุดจนทิ้งผิวสวยไว้แทนภายใน 5-10 วัน เซลล์ผิวที่สร้างใหม่จะกลับเป็นผิวปกติ แผลเป็น หลุมสิว รวมทั้งรูขุมขนกว้างดีขึ้น

อาการข้างเคียง
พบน้อยมาก แต่อาจพบผิวคล้ำหมอง หรือดำขึ้นชั่วคราวแล้วจึงค่อยๆขาวเป็นปกติภายใน 1-3เดือน อาการข้างเคียงของ Fraxell Restore และ FLT Sellas เท่ากัน ประมาณ 5-7% ส่วนอาการข้างเคียงของ E-Matrix, Golden Sem พบน้อยมาก หรือถ้าเกิดก็จะหายเร็วมาก

11 พฤษภาคม 2563 เวลา 07:21:32

Image-empty-state_edited.jpg

Co2 Laser กำจัดไฝ-ขี้แมลงวันที่กวนใจ

Co2 Laser คืออะไร?
คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ หรือ Co2 Laser เป็นเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 10,600 นาโนเมตร สามารถตัดและทำลายเนื้อเยื่อในจุดที่มีปัญหาโดยไม่ทำให้เลือดออก แพทย์จึงหันมาใช้เลเซอร์ชนิดนี้ทดแทนเครื่องจี้ไฟฟ้า เนื่องจากรักษาได้ผลดีกว่า และเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่า โดยเฉพาะเรื่องของแผลหลังการรักษา

Co2 Laser มีคุณสมบัติอย่างไร
Co2 Laser มีคุณสมบัติการใช้งานคล้ายกับ Erbium Yag Laser ซึ่งเป็นเลเซอร์สำหรับปรับสภาพผิวชนิดมีแผลเหมือนกัน หรือ เข้าใจง่ายๆก็คือ เป็นเหมือนเลเซอร์ลอกผิว ใช้สำหรับกำจัดไฝ ติ่งเนื้อ รวมถึงการปรับสภาพผิวเพื่อลบเลือนริ้วรอยเหี่ยวย่น และหลุมสิว ซึ่งสามารถทำได้ทั้งที่ใบหน้า ลำคอ เข่า ข้อศอก มือ แขน

ปัญหาหลักๆที่ใช้ Co2 Laser คือ
- กระเนื้อ
- ไฝ, ไฝนูน
- ขี้แมลงวัน
- ติ่งเนื้องอกบริเวณรอบคอ ลำตัว รักแร้
- เนื้องอกของต่อมไขมัน
- เนื้องอกของต่อมเหงื่อ
- สิวอุดตันหัวปิด
- สิวข้าวสาร
- หูด
- ริ้วรอยเล็กรอบดวงตา รอบปาก
- รอยร่องลึกที่แก้มและหน้าผาก
-หลุมสิว
- บริเวณที่มีเม็ดสีผิดปกติ

ทำกี่ครั้งเห็นผล?
การรักษาแผลเป็นหลุมสิวนั้นต้องทำการรักษามากกว่า 1 ครั้ง ผลการรักษาโดยทั่วไปจะเห็นผลสูงสุดหลังการรักษาประมาณ 3-6 เดือน ผลข้างเคียงที่เกิดจากการทำ Co2 Laser จะมีรอยแดงเล็กน้อยประมาณ 2 วัน จากนั้นจะเป็นสะเก็ดเล็กๆบนผิว ก่อนลอกออกไปภายใน 5-7 วัน

5 พฤษภาคม 2563 เวลา 08:19:15

Image-empty-state_edited.jpg

รักษากระด้วย Medlite C6

รักษากระ อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยชุดโปรแกรม Medlite C6
เพื่อให้กระบนผิวหน้า เลือนและจางหายไป

“กระ” เป็นปัญหาผิวพรรณของคนมีอายุเท่านั้นหรือ

กระแดดเกิดจากการที่คุณไม่ยอมดูแลปกป้องผิวจากแสงแดดมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งเมื่อผิวคุณเริ่มเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น เม็ดสีและเมลานินที่ถูกทำลายจากแสงแดดจึงเกิดเป็นกระบนใบหน้าอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นกรรมพันธุ์ก็มีส่วนทำให้มีโอกาสเป็นกระได้เช่นกัน (ทั้งกระแดด กระลึก กระเนื้อ) เพราะฉะนั้นหากปู่ย่าตายายเคยเป็นกระ และคุณไม่ค่อยกลัวแดด หรือขยันโดนแดด โอกาสเป็นกระแดดของคุณก็สูงขึ้นด้วย

กระ มีหลายประเภท ลักษณะเป็นจุดแบนราบหรือตุ่มนูนสีน้ำตาลที่มักพบบริเวณนอกร่มผ้า โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า แขน และหลังมือ แต่กระอาจพบได้ในบริเวณใต้ร่มผ้าเช่นกัน

1 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:47:48

Image-empty-state_edited.jpg

Full Name 05

I'm a paragraph. To update me, go to the Data Manager. The Data Manager is where you store and collect data for your site.

1 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:47:48

Image-empty-state_edited.jpg

เราจำเป็นต้องสครับผิวหน้ากันหรือเปล่า ?

อีกหนึ่งวิธีบำรุงผิวที่เราได้ยินบ่อยๆ ก็คือ “การสครับผิว” ซึ่งก็จะมีทั้งเสียงที่บอกว่าควรสครับเยอะๆ ผิวจะได้สวยๆ ขาวๆ แต่บางเสียงก็บอกว่าอย่าสครับเลย เดี๋ยวผิวจะระคายเคือง เกิดเป็นผื่นแดงๆ ขึ้นเต็มหน้า ไม่สวยเอานะ

เราสครับผิวไปเพื่ออะไร
สิ่งที่เรียกว่า “สครับ” เกิดขึ้นมาเพราะเพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวหมดอายุ หรือเซลล์ผิวเก่าๆ ให้หลุดออกไป แล้วให้เซลล์ผิวที่ใหม่กว่า สวยกว่า ขาวกว่า เผยออกมา และการสครับผิวยังช่วยขจัดสิ่งสกปรก คราบมันที่อุดตันตามรูขุมขนให้ออกมาได้ด้วย ถ้าใครอยากเพิ่มดีกรีความสะอาดให้กับผิว การสครับผิวก็ช่วยได้ค่ะ แต่ตามปกติแล้วผิวคนเราจะผลัดออกเองตามธรรมชาติอยู่แล้วประมาณ 28-30 วัน แต่ด้วยปัจจัยอะไรหลายๆ อย่าง ก็อาจจะทำให้ผิวเราผลัดออกช้า สวยไม่ทันใจ สวยไม่สุด การสครับผิวเลยเป็นทางออกหนึ่ง ที่จะทำให้ผิวเราสวยขึ้นได้แบบสังเกตเห็นได้ชัด

คำตอบก็คือ มีทั้ง “จำเป็น” และ “ไม่จำเป็น” ไม่ได้เป็นกฎตายตัว ถ้าเราไม่สครับเลยก็มีข้อดีตรงที่ว่า ไม่เป็นการรบกวนผิวให้ผิวง่ายต่อการระคายเคือง และไม่ทำร้ายเกราะป้องกันผิวตามธรรมชาติให้อ่อนแอลงด้วย (การสครับผิวหรือขัดผิวบ่อยๆ ทำให้ผิวอ่อนแอลงได้นะ) แต่ถ้าอยากจะสครับก็ไม่ว่ากันค่ะ แต่ควรทำแบบพอดี ไม่ถี่เกินไป โดปกติแล้ว สัปดาห์หนึ่งไม่ควร 1-2 ครั้งค่ะ และนอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังอื่นๆ อีกเช่น

• สำหรับคนที่ผิวแห้ง หรือระคายเคืองง่าย ควรเลือกผลิตภัณฑ์สครับผิวเม็ดเล็ก อย่าเลือกเม็ดหยาบ เพราะอาจทำให้ผิวเราระคายเคืองได้ง่ายค่ะ
• ควรเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับสครับผิวให้เหมาะกับสภาพผิวเรา
• ไม่ควรสครับผิวบ่อยเกินไป
• ควรระวังการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับสครับผิวที่มีส่วนผสมเป็นกรดต่างๆ เช่น Glycolic acid ที่เหมาะกับคนมีสิวนั้น ควรสครับไม่เกินสัปดาห์ละครั้งค่ะ เพราะผิวอาจบอบบางลงได้

สรุปก็คือ เรื่องของการสครับผิวเนี่ย เราจะทำหรือไม่ทำก็ได้ หากเรารู้สึกว่าผิวเราดูหมองๆ ไม่กระจ่างใส การสครับผิวก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่งที่ช่วยได้ แต่ต้องอย่าลืมว่า อย่าสครับผิวบ่อยเกินไปนะคะ เพราะเดี๋ยวผิวจะอ่อนแอ และเกิดการระคายเคืองได้

26 มิถุนายน 2563 เวลา 06:39:06

Image-empty-state_edited.jpg

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผิวของคุณมีอาการคัน

ผิวหนังที่มีอาการคันและระคายเคือง บางครั้งคุณรู้สึกอยากจะเกาเพื่อบรรเทาอาการคันเหล่านั้น บางครั้งสาเหตุนี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะผิวอ่อนแอ อาการแพ้ หรืออาการป่วยของผิว
การเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอาการคันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเราไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แพทย์สามารถหาสาเหตุและรักษาอาการได้อย่างถูกต้อง หรือบางครั้งแพทย์สามารถจ่ายยาทาแก้ผื่นคันที่เหมาะกับอาการเพื่อมาทารักษาได้เองที่บ้าน

เงื่อนไขที่ทำให้เกิดอาการคัน
ผิวแห้ง (Itchy skin)
ผิวจะมีอาการคันผิวหนัง ผิวแห้ง คันและแตก ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตามขาแขนและหน้าท้อง สามารถแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทามอยเจอร์ไรเซอร์ เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว เพื่อไม่ให้ผิวแห้งคัน

แพ้อาหาร (Food allergy)
หากมีการแพ้อาหารเกิดขึ้น และมีอาการแสดงออกมาตามผิว คุณควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจาก

บางครั้งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การแพ้อาหารอาจจะเกิดขึ้นจาก

- เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณมีปฎิกริยาตอบสนองกับสารอาหารหรือเครื่องดื่มที่รับเข้าไป ว่าเป็นอาหารที่ร่างกายคุณไม่สามารถรับได้
- อาการมีตั้งแต่เล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง อาจมีการจาม ตาบวม คัน มีผื่นลมพิษ ปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนและหายใจไม่ออก
- ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของคุณ อาการอาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาที หรืออาจจะให้หลังเป็นชั่วโมง หลังจากรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
- อาหารส่วนใหญ่ที่คนอาจจะแพ้ได้ มีดังนี้ นมวัวไข่ ถั่วลิสง ปลา ธัญพืช ข้าวสาลี ถั่วเหลือง

โรคตับแข็ง (Cirrhosis)
- ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด หน้าท้องบวม
- ผิวช้ำง่าย และมีเลือดออกง่าย
- เส้นเลือดเห็นชัดเหมือนใยแมงมุมใต้ผิว
- ผิวหรือตาเหลือง และมีอาการคันที่ผิว

ผื่นผ้าอ้อม (Diaper rash)
- มีผื่นแพ้บริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม
- ผิวแดงระคายเคือง
- ผิวมีร้อนเมื่อสัมผัส

ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis)
โรคผิวหนังผื่นแพ้สัมผัส อาการ

ผื่นแพ้เกิดภายใน หนึ่งชั่วโมงสามารถมีอาการ หนึ่งวันหลังจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
- ผื่นแดง มองเห็นได้และปรากฏขึ้นที่ผิวของคุณที่สัมผัสกับสารระคายเคือง
- ผิวที่แพ้มีอาการคัน แดง ลอก
- มีแผลพุพองที่ไหลซึม หรือผิวลอก

ลมพิษ (Urticaria)
- คันที่เกิดขึ้นหลังจากการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
- ผิวร้อนแดงและมีอาการเจ็บผิวเล็กน้อยเมื่อสัมผัส
- อาจจะเกิดขึ้นเป็นวงเล็กๆ เหมือนวงแหวนหรืออาจจะใหญ่และเล็กปะปนกันไป

ผื่นแพ้ (Rash)
หากเกิดอาการนี้นับว่าเป็นอาการที่มีความอันตรายสูง ควรพบแพทย์โดยด่วน

- สีผิวเปลี่ยนไปเห็นได้อย่างชัดเจนตรงที่เป็นผื่นคัน
- อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นแมลงสัตว์กัดต่อย อาการแพ้ผลข้างเคียงของยา การติดเชื้อที่ผิวหนัง ติดเชื้อรา การติด - เชื้อที่ผิวหนังจากแบคทีเรีย โรคแพ้ภูมิตัวเอง
- อาการขึ้นผื่นแดงนี้สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน แต่หากมีอาการรุนแรงร่วมกับอาการป่วย วิงเวียน อาเจียน หรือหายใจไม่สะดวก คุณอาจจะต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน
- หน้าเป็นปื้นแดง คัน

โรคผิวหนังชนิดเป็นตุ่มพุพอง (Impetigo)
- พบมากในทารกและเด็ก
- ผื่นตุ่มพุพองมักจะเกิดบริเวณปาก คาง จมูก
- เป็นผื่นระคายเคืองและมีแผลพุพองอาจมีหนอง ผิวบริเวณรอบเป็นสีน้ำตาล
- เป็นตุ่มคันหรือตุ่มใส ไม่คัน

สังคัง (Jock itch)
- ผิวแดงคัน ร่วมกับผิวไหม้ที่บริเวณขาหนีบ
- ผิวลอก แตกบริเวณขาหนีบ
- ผื่นแดงบริเวณขาหนีบจะแย่ลงหากมีการเสียดสี

กลาก (Ringworm)
- มีลักษณะเป็นวงกลมแดงขุยๆ ตามชอบวงกลม
- ผิวด้านในวงกลมอาจจะเป็นผิวปกติ แต่ตามขอบโดยรอบจะเป็นขุย
- มีอาการคัน

หิด (Scabies)
- อาการอาจใช้เวลาสี่ถึงหกสัปดาห์จึงจะปรากฏ ผื่นคัน
- อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงอาจเป็นผื่นเม็ดคันมีแผลพุพองเล็ก ๆ หรือผิวลอก
- ผิวมีเส้นขาว ๆ เป็นลายเส้น ๆ
- มีตุ่มขึ้นตามตัว คัน

โรคหัด (Measles)
- มีไข้เจ็บคอ ตาแดงเป็นน้ำ เบื่ออาหาร ไอและน้ำมูกไหล
- ผื่นแดงจะกระจายบริเวณใบหน้าและร่างกายสามถึงห้าวันหลังจากมีอาการ
- มีจุดสีแดงเล็ก ๆ ที่มีจุดศูนย์กลางสีขาวปรากฏขึ้นภายในปาก
- จุดแดงใต้ผิวหนัง ไม่คันหรือคัน

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
- ผิวเป็นเกล็ดสีเงินแห้งและเป็นหย่อม ๆ
- โดยทั่วไปจะอยู่บนหนังศีรษะข้อศอกหัวเข่าและหลังส่วนล่าง
- อาจจะมีอาการคันหรือไม่คัน

การวินิจฉัยสาเหตุของอาการคันของคุณ
แพทย์จะทำการตรวจสอบร่างกายและจะถามคำถามคุณหลายข้อเกี่ยวกับอาการของคุณเช่น:

1. อาการระคายเคืองมีมานานแค่ไหนแล้ว
2. มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หรือไม่
3. ผิวได้มีการสัมผัสสารระคายเคืองหรือไม่
4. ปกติมีอาการแพ้หรือไม่
5. มีการคันรุนแรงแค่ไหน
6. มีการทานยาอะไรหรือไม่

คุณอาจต้องผ่านการทดสอบเพิ่มเติมหากแพทย์ของคุณไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการคันได้ จากคำตอบและการตรวจร่างกาย การทดสอบอาจรวมถึง:

การตรวจเลือด: อาจบอกสาเหตุได้
ทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ : สามารถแยกแยะปัญหาต่อมไทรอยด์ได้
การตรวจชิ้นเนื้อผิวหนัง: สามารถตรวจสอบได้ว่าคุณมีการติดเชื้อหรือไม่

เมื่อแพทย์ระบุสาเหตุของอาการคัน คุณสามารถได้รับวิธีรักษาอาการคันตามผิวหนังที่เป็นให้ถูกวิธี หากสาเหตุเป็นโรคหรือการติดเชื้อแพทย์จะแนะนำแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาเบื้องต้น เมื่อสาเหตุไม่ได้รุนแรง แพทย์อาจสั่งยาทาชนิดครีมที่จะช่วยบรรเทาอาการคัน ทั้งนี้ไม่ควรซื่อยาแก้คันตามผิวหนังเองเนื่องจากอาจจะไม่ได้รักษาได้ตรงต้นเหตุ

คุณควรพบแพทย์ ถ้าหากคุณ :
- อาการคันตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อาการคันรุนแรง
- พบอาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการคัน

การพบแพทย์เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยเมื่อสาเหตุไม่ชัดเจนเนื่องจากสาเหตุบางอย่างของอาการคันนั้นรุนแรง แต่ยังสามารถรักษาได้

22 มิถุนายน 2563 เวลา 07:08:39

Image-empty-state_edited.jpg

คำแนะนำโรคอีสุกอีใส (Chickenpox)

ลักษณะทั่วไป อีสุกอีใสเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง ซึ่งมักเป็นคนที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน แล้วมักจะมีอาการและภาวะแทรกซ้อนมากกว่าที่พบในเด็ก มักพบระบาดในตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน (มกราคมถึงเมษายน) เช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี

1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโรค

ลักษณะทั่วไป

อีสุกอีใสเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง ซึ่งมักเป็นคนที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน แล้วมักจะมีอาการและภาวะแทรกซ้อนมากกว่าที่พบในเด็ก มักพบระบาดในตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน (มกราคมถึงเมษายน) เช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี

สาเหตุ

เกิดจากเชื้ออีสุกอีใส ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า วาริเซลลาไวรัส (Varicella virus) หรือ Human herpes virus type 3 เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด (188 ) ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรงหรือสัมผัสถูกของใช้ (เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน) ที่เปื้อนถูกตุ่มน้ำของคนที่เป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัด หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำ ผ่านเข้าทางเยื่อเมือก โดยมีระยะฟักตัว 10-20 วัน

อาการ

เด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อย ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูงและปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อม ๆ กันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างในและมีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลังจากนั้น 2-4 วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้าลำตัวและแผ่นหลัง จะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน บางคนมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ บางคนอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้น ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเริมได้ เนื่องจากผื่นตุ่มของโรคนี้จะค่อยๆ ออกทีละระลอก (ชุด) ขึ้นไม่พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจะพบว่า บางที่ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางที่เป็นตุ่มใส บางที่เป็นตุ่มกลัดหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกตุ่มใส)

สิ่งตรวจพบ

มีผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง มักพบว่ามีไข้

2) การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย/ผู้ที่ความเสี่ยง

1. แนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย เช่น พักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีไข้สูง ห้ามอาบน้ำเย็น ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ ถ้าปากเปื่อย ลิ้นเปื่อยใช้น้ำเกลือกลั้วปาก ควรอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด ( อาจใช้สบู่ที่มียาฆ่าเชื้อ เช่น ไฟโซเฮกช์ ก็ได้) เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มกลายเป็นหนองผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และพยายามอย่าแกะ หรือเกาตุ่มคัน อาจกลายเป็นตุ่มหนองได้

2. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ทายาแก้ผดผื่นคัน ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้ หรือไดอาซีแพมเป็นต้น (ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เป็นเรย์ซินโดรม ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงได้)

3. ถ้าตุ่มกลายเป็นหนอง ให้ทาด้วยขี้ผึ้งเตตราไซคลีน หรือ เจนเชียนไวโอเลต ถ้าเป็นมากให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น คล็อกซาซิลลิน หรือ อีริโทรไมซินทำให้เกิดติดเชื้อ

4. ถ้ามีอาการรุนแรงเช่น หอบ ชัก ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว ควรส่งโรงพยาบาลด่วน

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง และหายได้เอง โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ไข้อาจ มีอยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดหลุดหายใน 1-3 สัปดาห์ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ อาจเป็นนาน และมีความรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยเด็ก

2. โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว มักมีภูมิต้านทานไปจนตลอดชีวิต จะไม่เป็นซ้ำอีก แต่อาจมีโอกาสเป็นงูสวัดในภายหลังได้

3. ไม่ควรใช้ยาที่เข้าสเตียรอยด์ทั้งยากิน (เช่น ยาชุด) และยาทา เพราะอาจทำให้โรคลุกลามได้

4. ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้คนอื่นได้ คือ ตั้งแต่ระยะ 24 ชั่วโมงก่อนมีผื่นขึ้น

3) การป้องกันไม่ให้เกิดโรค

ในปัจจุบันมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคอีสุกอีใสใช้แล้ว แต่ราคาค่อนข้างแพง จึงแนะนำให้ฉีดในคนที่มีอายุมากกว่า15 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เคยเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคนี้สูง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ดูแลเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก ครูอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษา เป็นต้น ควรเจาะเลือดตรวจหาแอนติบอดีต่อโรคนี้ก่อน (ถ้าตรวจพบแสดงว่าเคยได้รับเชื้อแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน) ส่วนคนที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ส่วนใหญ่จะมีโอกาสติดเชื้อโดยธรรมชาติอยู่แล้ว และมักจะเป็นไม่รุนแรง จึงมีความจำเป็นในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ไม่มาก

4) ข้อควรระวัง

อาการแทรกซ้อน พบได้น้อยในเด็ก แต่ถ้าเป็นในผู้ใหญ่ อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและรุนแรงขึ้นที่พบได้บ่อยคือ ตุ่มกลายเป็นหนองจากเชื้อแบคทีเรีย พุพอง ซึ่งอาจทำให้กลายเป็นแผลเป็นได้ บางคนอาจกลายเป็นปอดอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งอาจทำให้ตายได้ มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ที่ร้ายแรง คือ สมองอักเสบ แต่พบได้น้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง มักเกิดในคนที่ใช้ยาที่ลดภูมิต้านทานโรค เช่น สเตียรอยด์ หรือยารักษามะเร็ง (เช่น เด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว) หรือผู้ป่วยเอดส์

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้แต่ค่อนข้างน้อยมาก ก็คือ หญิงตั้งครรภ์ในระยะไตรมาสแรกหรือไตรมาสที่ 2 ที่ติดเชื้ออีสุกอีใส อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการ (เช่น แขนพิการ สมองพิการ ตาเป็นต้อกระจก เป็นต้น) นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นอีสุกอีใสในระยะก่อนคลอด 5 วันหรือหลังคลอด 2 วัน ทารกที่เกิดมาอาจเป็นอีสุกอีใสชนิดรุนแรงได้ ทารกกลุ่มนี้ควรได้รับการฉีดสารอิมมูนโกลบูลิน (เช่น Varicella-zoster immune globulin) ป้องกันทันที

22 มิถุนายน 2563 เวลา 06:39:31

Image-empty-state_edited.jpg

ผื่นแพ้ยุง: รักษา ป้องกันอย่างไร?

ช่วงฝนตกน้ำท่วมเช่นนี้ หลายคนคงมีปัญหารบกวนจากกองทัพยุงเป็นแน่ ยุงที่กัดส่วนใหญ่ในบ้านเราคือ ยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) เป็นยุงเพศเมียเพราะต้องการเลือดในการสร้างไข่ เมื่อยุงกัดจะปล่อยน้ำลายออกมาซึ่งในน้ำลายนี้เองมีสารโปรตีนที่เป็นสาเหตุของผื่นคันและการแพ้

ผื่นยุงกัดลักษณะเป็นอย่างไร
ผื่นยุงกัดมีอาการแสดงได้หลายรูปแบบ และอาการขึ้นกับปริมาณยุงที่กัดด้วย ส่วนใหญ่เมื่อโดนกัดซ้ำหลายๆครั้ง อาการมักจะน้อยลง โดยทั่วไปจะเห็นเป็นตุ่มนูน แดง คัน ขึ้นอยู่นานประมาณ 20 นาที และค่อยๆยุบไปได้เอง ตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณขา ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นการแพ้ แต่เป็นปฏิกริยาต่อน้ำลายยุงเท่านั้น ส่วนในคนที่แพ้ยุงจริงๆนั้นหลังถูกกัดจะพบตุ่มนูนแดงคงอยู่นานหลายวัน หรือพบตุ่มนูนแดงขนาดใหญ่ (บางครั้งใหญ่เกิน 5 เซนติเมตร) ตุ่มน้ำพอง จ้ำเลือด ในบริเวณที่โดนกัด ในบางรายมีผื่นลมพิษทั่วตัวหรือลมพิษชนิดลึกร่วมกับมีอาการหมดสติได้ ซึ่งในกลุ่มนี้มักมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนจากการแกะเกาและมีรอยดำตามมาได้บ่อย

ใครคือบุคคลที่เสี่ยงต่อการแพ้ยุง
- เด็กเล็กซึ่งยังไม่เคยโดนยุงกัดมาก่อนเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติต่อยุงน้อย จะสังเกตเห็นว่าเด็กมักมีผื่นยุงกัดมากกว่าผู้ใหญ่ หรือนักท่องเที่ยวที่ไม่เคยสัมผัสกับยุงในสถานที่นั้นๆมาก่อน
- คนที่มีโรคเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันเช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็งเม็ดเลือดบางชนิด
- คนที่ใช้ชีวิตหรือทำงานนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่

วินิจฉัยได้อย่างไรว่าเราแพ้ยุง
อาศัยทั้งจากประวัติ ลักษณะตุ่มที่โดนกัดว่ารุนแรงกว่าคนทั่วไป นอกจากนั้นอาจทำการตรวจเพิ่มเติมเช่นทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังที่เรียกว่า skin prick test โดยใช้สารสกัดจากน้ำลายยุงมาสะกิดผิวหนังในบริเวณท้องแขนและดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ในรายที่มีประวัติแพ้รุนแรงมาก อาจใช้วิธีเจาะเลือดดูค่าภูมิคุ้มกันต่อยุงได้ (specific IgE)

การรักษา
ในรายเป็นตุ่มยุงกัดธรรมดา อาจใช้ยาทากลุ่ม calamine หรือ menthol เพื่อให้รู้สึกเย็นสบาย ลดอาการคัน หรือยาทากลุ่ม สเตียรอยด์ ส่วนในรายที่เป็นตุ่มขนาดใหญ่ อาจใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ โดยเลือกความเข้มข้นให้เหมาะสม เช่นในเด็กควรใช้ยาที่มีความแรงอ่อนเช่น ไฮโดรคอร์ติโซน (hydrocortisone) ร่วมกับรับประทานยาแก้แพ้เช่น chlorpheniramine, cetirizine บางครั้งถ้ามีอาการรุนแรงมากอาจจำเป็นต้องรับประทานยาสเตียรอยด์ร่วมด้วยซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ยุงกัดจนแขนขาลาย รักษาอย่างไรดี
รอยดำจากยุงกัด เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยกังวลมาก เนื่องจากเป็นเรื่องของความสวยงาม ซึ่งการรักษา แพทย์อาจใช้ยาทาที่ช่วยลดการสร้างเม็ดสีและที่สำคัญต้องป้องกันอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้มีรอยโรคจากยุงกัดเพิ่ม

การป้องกัน
นอกจากการใส่เสื้อผ้าปกปิด หลีกเลี่ยงแหล่งที่มียุงชุม รวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ใช้ยาจุดกันยุงแล้ว บางครั้งอาจจำเป็นต้องยาทากันยุง (insect repellants) บริเวณผิวหนังร่วมด้วย ปัจจุบันสารเหล่านี้เริ่มใช้กันแพร่หลาย มีหลายยี่ห้อในท้องตลาด ทั้งครีม โลชั่น สเปรย์ แป้งและแผ่นอาบน้ำยา ซึ่งสารเหล่านี้จะระเหยเป็นกลิ่นที่ยุงไม่ชอบทำให้ยุงเข้ามากัดเราน้อยลง สารที่นิยมใช้มีดังนี้
1. DEET (N,N-diethyl-3-methylbenzamide) สามารถทาที่ผิวหนังโดยตรงหรือใช้พ่นที่เสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ต่างๆได้ ระยะเวลาป้องกันยุงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร โดยถ้าความเข้มข้นน้อยกว่า 10% จะป้องกันยุงได้ประมาณ 1-3 ชั่วโมง ถ้าความเข้มข้น 10-30% ป้องกันยุงได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรทาบริเวณใกล้ตาหรือผิวหนังที่เป็นแผล ในเด็กเล็กควรใช้สารนี้เมื่ออายุมากกว่า 2 เดือนเพื่อป้องกันผลข้างเคียงต่อระบบประสาทและเลือกใช้ความเข้มข้นที่น้อยกว่า 10%
2. ตะไคร้หอม สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย citronella oil และ geraniol ข้อดีคือเป็นสารสกัดจากพืชธรรมชาติ แต่ป้องกันยุงได้ในช่วงสั้นประมาณ 20-30 นาที
3. น้ำมันยูคาลิปตัส (lemon eucalyptus oil) เป็นสารสกัดจากธรรมชาติเช่นกัน ป้องกันยุงได้ในช่วงประมาณ 2-5 ชั่วโมง
4. Permethrin นิยมใช้ฉีดพ่นที่ข้าวของเครื่องใช้เช่นเสื้อผ้า รองเท้า มุ้ง สามารถติดทนแม้จะทำการซักไปแล้วหลายครั้ง
5. Picaridin เป็นสารตัวใหม่ที่นิยมใช้ในต่างประเทศ มีประสิทธิภาพดี ไม่มีกลิ่นและระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่า DEET

ผู้ป่วยที่แพ้ยุงนั้นพบได้ไม่บ่อยแต่มักทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิต รวมถึงผลข้างเคียงในด้านความสวยงาม นอกจากนั้น ยุงยังเป็นพาหะของโรคต่างๆอีกหลายโรค ดังนั้นทุกคนที่แพ้หรือไม่แพ้ยุงจึงควรหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้โดนยุงกัดเช่นกัน

16 มิถุนายน 2563 เวลา 04:12:09

Image-empty-state_edited.jpg

กลากน้ำนมคืออะไร รักษาอย่างไร

หลายคนโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อย คงเคยได้ยินชื่อโรคที่เรียกว่า “กลากน้ำนม” ซึ่งถ้าฟังแค่ชื่อก็อาจเข้าใจผิดคิดว่าหมายถึงโรคกลาก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อรา แต่จริงๆ แล้วโรคกลากน้ำนมเป็นคนละโรคกับโรคกลากโดยสิ้นเชิง

กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) หรือเกลื้อนน้ำนม คืออะไร

เป็นโรคผิดปกติทางผิวหนังที่เกิดจากการลดจำนวนของเม็ดสีที่ผิวหนังลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้สีผิวบริเวณนั้นจางลงเป็นวงด่าง โดยในช่วงแรกอาจเป็นผื่นชมพูอ่อน ๆ แห้งและตกสะเก็ด คล้ายอาการผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) โรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักเกิดกับเด็กและวัยรุ่นได้มากกว่าวัยอื่น

อาการของโรคกลากน้ำนมในเด็ก

มีลักษณะคล้ายๆ เกลื้อน คือ เห็นเป็นวงขาวหรือชมพูจางๆ เมื่อดูให้ดี หรือใช้แว่นขยายส่องดูด้วย จะเห็นมีขุยบางๆ ติดอยู่ มักเกิดที่ คอ ไหล่ และแขน บางครั้งอาจจะพบที่หลัง หน้าอก และขา ก็ได้

โดยส่วนมากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง เป็นผู้สังเกตเห็นว่า เกิดกับเด็ก ในระยะกินนม เห็นเป็นวงกลมหรือวงรี เนื่องจากพบในเด็กที่อยู่ในระยะกินนม ลักษณะเหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม จึงเรียกว่า กลากน้ำนม ซึ่งโดยความจริง โรคนี้มีลักษณะไม่เหมือนกลาก แต่เหมือนเกลื้อนน้ำนมหรือโรคด่างขาวมากกว่า

สาเหตุการเกิดกลากน้ำนม หรือเกลื้อนน้ำนม

1.การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ เช่น อากาศร้อน ตากแดด ตากลม เป็นต้น
2.เซลล์ผิวหนัง หรือเม็ดสีมีความผิดปกติ
3.เกิดจากแพ้แสงแดด ไวต่อแสงแดด
ภาวะร่างกายขาดสารทองแดง หรือเชื้อรา (Malassezia Yeasts) ที่อาจกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์สร้างเม็ดสีจนทำให้เกิดการผลิตเม็ดสีน้อยลงจนเกิดเป็นรอยด่าง

การรักษากลากน้ำนม หรือเกลื้อนน้ำนม
1.ใช้ยาทา
อาจใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุด เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิว ไม่แห้ง ลอกเป็นขุยมากขึ้น

สำหรับครีมที่ใช้ ควรจะเป็นครีมธรรมดาที่ไม่มีกลิ่นหอม เพราะผิวหนังของคนไข้บางคนอาจจะแพ้น้ำหอมได้ โรคมักเป็นเรื้อรัง เป็นๆหายๆ ถ้าไม่รักษาอาจเป็นนานเป็นเดือนหรือเป็นปี

2.รักษาความสะอาด
ให้ใช้สบู่อ่อน เช่น สบู่น้ำ หรือสบู่เด็ก แล้วให้แต่โคล์มครีมทา

3.ไม่อาบน้ำที่มีอุณหภูมิอุ่นเกินไป

การป้องกันโรคกลากน้ำนม

ไม่สามารถป้องกันได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากสาเหตุการเกิดมาจากหลายปัจจัย แต่สามารถลดความเสี่ยงของโรคได้โดยการดูแลผิวให้ชุ่มชื่นด้วยการทาครีมอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการออกแดด เพื่อช่วยปกป้องผิวลูกน้อยจากการถูกทำร้าย และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวลูกที่สุด

โรคกลากน้ำนมในเด็กทารกไม่ได้เกิดจากการกินนมอย่างที่คุณแม่หลายคนเข้าใจ เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง มีความสัมพันธ์กับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถหายได้เองได้แต่ใช้เวลาค่อนข้างนาน หากได้รับการดูแลผิวที่ดี หลีกเลี่ยงการออกแดด เพื่อช่วยป้องกันผิวลูกน้อยจากการถูกทำร้ายจากแสงแดด และ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนที่เหมาะสมต่อผิวลูก จะทำให้โรคหายเร็วขึ้น

10 มิถุนายน 2563 เวลา 06:38:27

Image-empty-state_edited.jpg

รับมือให้ถูกวิธี “ลักษณะของสิวอักเสบแบบต่างๆ”

สิว (Acne)
คือ ภาวะที่รูขุมขนเกิดการอุดตัน อักเสบหรือบางครั้งเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการอักเสบของผิวหนังที่มีการ
อุดตันของน้ำมนและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว บริเวณรูขุมขน เกิดเป็นจุดเล็กๆที่อักเสบ บวมแดง หรือมืหนอง
ส่วนมากจะเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ลําคอ หนาอก ไหล่ หรือหลัง โดยมีอาการเริ่มจากตุ่มเล็กๆ อาจมีสีขาวขุ่น
หรอเป็นจุดดำๆ หากมีการอักเสบจะพบตุ้มหนองมีสีแดง หรือคล้ายฝี่ ทําใหเกิดความเจ็บปวดหรือแผลเป็น
การเกิดสิวพบมากในช่วงวัยรุ่นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน์ โดยทั่วไป สิวมักจะหายไปหรือทุเลา
ลงเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น

สิวอักเสบ (Inflamatory)
กระบวนการเกิดสิวอักเสบ คือ เกิดหลังเป็นสิวอุดตันใต้ ผิว และมีแบคทีเรียลงไปสะสมทำให้เกิดการอักเสบ
รอบบริเวณนั้น และกลายเป็น “สิวอักเสบ” ตามมา
สิวอักเสบมีหลายแบบ หลายระยะ เช่น

- สิวตุ่มนูนแดง (Papule)
คือสิวอักเสบระยะแรก เปลี่ยนมาจากสิวอุดตัน ลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงเจ็บ ขนาดเล็ก มักไม่ เกิน 0.5 ซม
ไม่ม่ีหนอง ส่วนมากสิวชนิดนี้เป็นสิวอักเสบในระยะแรกที่พัฒนามาจากสิวอุดตัน ขนาดจะเล็กกว่าสิวแบบ Nodular Acne
และไม่มี อาการเจ็บเท่าไหร่

วิธีดูแล : ล้างหน้าให้สะอาดแบบอ่อนโยน ไม่ควรใช้สครับขัดผิวหน้า เพราะจะยิ่งเพิ่มอาการระคายเคือง

- สิวหัวหนอง (Pustule)
เมื่อสิวหัวขาวหรือสิวมีขนาดใหญ่ขึ้นและอักเสบรุนแรง จะกลายเป็นสิวอักเสบที่มีหนอง มีลักษณะเป็นตุ่มแดง
และปวดข้างบนตุ่ม มีหัวหนองสีเหลือง เป็นสิวที่มีอาการอักเสบมากกว่าสิวอักเสบชนิด Papule หรือ อาจเกิดจากสิวมีการติด เชื้อแบคทีเรียอื่นแทรกซ้อน

วิธีดูแล : ล้างหน้าให้สะอาดแบบอ่อนโยน ไม่ควรใช้ สครับขัดผิวหน้าเด้็ดขาด เพราะจะยิ่งเพิ่มอาการระคายและควรใช้ยาแต ้ มสิวร่วมด้วยวันละ 2-3 ครั้ง

- สิวหัวช้าง (Nodule/Cyst)
เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรง ลักษณะเป็นตุ่มแดงขนาดใหญ่ (่ ขนาดเกิน 0.5 ซม.) อยู่ใต้ ผิวหนัง จับดูจะรู้สึกเป็นไตแข็งๆ
เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ แบคทีเรียและน้ำมนในตุ่มสิวแตกกระจายอยู่ใต้ ผิวหนัง สิวชนิดนี้ มักเป็นในวัยรุ่นที่มีผิวหน้ามันมาก
บางรายมีประวัตั คนในครอบครัวเป็นสิวหัวช้างด้วย สิวหัวช้างมี ลักษณะเป็นสิวอักเสบรุนแรงทุกกชนิดขึ้นรวมกันหนาแน่น
ได้แก่ สิว pustule, สิว nodule และสิว cyst หัวสิวมักแตกมีหนองเยอะ และมีเลีอดไหลเยอะ สิวมักมีจำนวนมากที่ใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง สิวจะอักเสบนานหลายวัน เมื่อหายอาจเกิดแผลเป็นได้

วิธีดูแล : รักษาได้ยาก และจะกลายเป็นแผลเป็นก้อนนู้นหรือหลุมสิวขนาดใหญ่ เมื่อเป็นสิวชนิดนี้ควรพบแพทยเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมจนกว่าสิวอักเสบจะหายสนิท เพราะไมสามารถรักษาเองได้ด้วยยาที่ขายตามรานขายยาทั่วไป

การดูแลรักษา : ทายาหรือครีมบำรุงที่ช่วย ละลายสิวอุดตันใต้ผิว ลดการทํางานของต่อมไขมัน ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในหัวสิว ลดการอักเสบ

TIPS ห่างไกลสิว

1. ทำความสะอาดร่างกายและใบหน้าทุกวัน แต่ระวังไม่ควรล้างหน้าบ่อยหรือขัดถูผิวหน้ามากเกินไป เพราะจะทำให้ผิวหนังเสียสมดุล การล้างหน้าควรล้างเพียงวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ยกเว้นช่วงที่เสียเหงื่อจากการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือช่วงที่คิดว่าผิวหนังสกปรก
2. รับประทานผักผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด
3. ออกกำลังกาย
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5. ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ อย่าเครียด ซึ่งความเครียดเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
6. หลีกเลี่ยงแดดจัด เนื่องจากยาบางชนิดอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสง หากใช้ยาประเภทนี้ควรทาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดเป็นประจำทุกวัน

4 มิถุนายน 2563 เวลา 08:44:26

Image-empty-state_edited.jpg

5 ประโยชน์ของการฉีดโบท็อกซ์

หากพูดถึงวิธีการทำหน้าเด็ก ลดรอยตีนกา ลดเลือนริ้วรอยต่างๆ หรือทำหน้าให้เรียวเล็กแบบทันใจแล้วล่ะก็ สาวๆ คงตอบเป็นเสียงเดียวว่าให้ไปฉีด “โบท็อกซ์”

โดย โบท็อกซ์ เป็นชื่อทางการค้าของ ‘โบทูลินัม ท็อกซิน เอ’ (Botulinum toxin A) สารสกัดจากโปรตีนชนิดหนึ่งของแบคทีเรียคลอสตริเดียม โบทูลินัม เป็นนวัตกรรมลดริ้วรอยและปรับรูปหน้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งโบท็อกซ์นี้ก็มีหลากหลายยี่ห้อ จากหลายประเทศ แต่ที่รู้จักกันดีก็คงจะหนีไม่พ้นโบท็อกซ์ ‘Dysport’ จากประเทศอังกฤษ และ ‘Neuronox’ จากประเทศเกาหลี

อย่างไรก็ตาม เจ้าโบท็อกซ์นี้ไม่ได้มีดีแค่ช่วยเสริมความงามให้กับเราเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมาก ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นวันนี้ฟิออร่า คลินิก จะพามาดูกันค่ะ ตามมาเลย

1.ลดเหงื่อลดกลิ่นตัว

ปัญหากลิ่นตัวและเหงื่อออกมาก คงเป็นปัญหาไม่น้อยสำหรับใครหลายๆ คนเพราะอาจทำให้เสียความมั่นใจได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการใช้โบท็อกซ์เข้ามาตอบโจทย์ในส่วนนี้ โดยโบท็อกซ์เมื่อฉีดเข้าไป จะไปช่วยยับยั้งเส้นประสาทที่เลี้ยงต่อมเหงื่อ จึงทำให้ต่อมเหงื่อนั้นผลิตเหงื่อน้อยลง เหงื่อออกน้อยกว่าปกติ ซึ่งได้ผลมากกว่าผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย สำหรับการฉีดนั้น จะฉีดบริเวณชั้นใต้ผิวหนังบริเวณรักแร้ ใช้เข็มฉีดขนาดเล็กและใช้สารโบท็อกซ์ในปริมาณไม่มาก สามารถผลลัพธ์ได้ตั้งแต่ 1-3 วันแรกๆ ของการทำ

2.รักษาอาการหนังตากระตุก

อาการหนังตากระตุกโดยส่วนมากจะเกิดขึ้นที่บริเวณเปลือกตาบนและล่าง โดยในแต่ละครั้งอาจมีอาการกระตุกเพียงสั้นๆ แล้วหายไป หรืออาจยาวต่อเนื่องเป็นพักๆ แม้จะไม่ใช่อาการที่อันตรายหรือสร้างความเจ็บปวดอะไร แต่ก็ทำให้เราเกิดความรำคาญได้ไม่น้อย ซึ่งเมื่อเราฉีดโบท็อกซ์ ก็จะช่วยยับยั้งอาการหนังตากระตุกไปได้ราว 2-3 เดือน

3.บรรเทาอาการเจ็บจากข้อเข่าเสื่อม

อายุมากขึ้น แน่นอนว่าร่างกายก็เสื่อมสภาพลงใช่ไหมล่ะคะ บางคนอาจมีอาการข้อเข่าเสื่อมถามหา ซึ่งโบท็อกซ์สามารถช่วยจัดการอาการเจ็บเหล่านี้ได้ รวมถึงช่วยป้องกันอาการโรคข้อเข่าเสื่อมเรื้อรังได้อีกด้วย

4.รักษาโรคไมเกรน

หากคุณมีอาการปวดตุ๊บๆ ที่ศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง รวมถึงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีความรู้สึกไวต่อแสงและเสียง ไม่แน่ใจว่าคุณอาจกำลังประสบอยู่กับโรคไมเกรนอยู่ก็ได้ โดยไมเกรนนั้นเกิดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอจนเกิดอาการในข้างต้นขึ้น ซึ่งโบท็อกซ์ เมื่อฉีดเข้าไปจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการตึง เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตามการฉีดโบท็อกซ์เพื่อรักษาไมเกรนควรจะต้องฉีดทุกๆ 3 เดือน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต่อเนื่องนั่นเอง

5.อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

ทางการแพทย์ โบท็อกซ์ สามารถช่วยหยุดอาการมือเกร็งบิด มือสั่นเวลายกจับสิ่งของ ตลอดจนอาการเคลื่อนไหวผิดปกติได้ เพราะโบท็อกซ์นั้นเป็นสารที่มีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือคลายตัวลง โดยเข้าไปออกฤทธิ์ลดการหลั่งอะซีติลโคลีน (Acetyl Choline) หรือสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่ทำหน้าที่ออกคำสั่งกับเซลล์กล้ามเนื้อของร่ายกาย

เห็นกันไปแล้วว่าโบท็อกซ์นั้นมีดีกว่าแค่การช่วยปรับรูปหน้า ให้หน้าเต่งตึง ดูอ่อนเยาว์ลง หากใครสนใจอยากฉีดโบท็อกซ์ไม่ว่าจะเพื่อเสริมความงามหรืออื่นๆ สามารถมาขอคำปรึกษาและใช้บริการที่ฟิออร่า คลินิกกันได้นะคะ รับรองเลยว่าสวยแน่ แถมปลอดภัย เพราะทุกขั้นตอนอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

28 พฤษภาคม 2563 เวลา 07:41:35

Image-empty-state_edited.jpg

วิธีป้องกันผิวหนังลอกเมื่อถูกแสงแดดเผา

โดยธรรมชาติแล้ว เมื่อผิวหนังชั้นบนสุดถูกเผาไหม้ด้วยแสงแดดจนกระทั่งเสื่อมสภาพ ผิวหนังลอกตัวออกเพื่อเปิดทางให้ผิวชั้นใหม่อยู่ข้างใต้ปรากฏออกมา แต่คนส่วนใหญ่กลับรู้สึกไม่ค่อยปลื้มกับกับกระบวนการเหล่านี้สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะกับคนที่อยากมีผิวสีแทน ทำให้มีความพยายามค้นหาสารพัดวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ผิวหนังลอก ซึ่งวิธีเหล่านั้นจะมีอะไรกันบ้างนั้น สามารถติดตามอ่านได้จากบทความชิ้นนี้กันเลย

กระบวนการผลัดเซลล์ผิวตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์

สีแดงบนผิว และความเจ็บปวด แสบ ร้อน เป็นสัญญานบ่งบอกว่าคุณได้ใช้เวลามากจนเกินไปแล้วท่ามกลางแสงแดด ผิวหนังลอกหลังจากที่ถูกแดดเผาเป็นความพยายามของร่างกายในการกำจัดเซลล์ที่ถูกทำลายจากแสงแดด ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้

1.ใช้ยาต้านอาการอักเสบของผิว เพื่อลดอาการปวด อาการอักเสบของผิว และลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผิวหนังลอก ซึ่งคุณสามารถขอคำแนะนำยาต้านอาการอักเสบเหล่านี้ได้จากร้านขายยาทั่วไป

2.ล้างผิวด้วยน้ำเย็น ด้วยการอาบน้ำเย็น เพื่อทำให้ผิวของคุณเย็นลง ห้ามล้างผิวด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรง และหลีกเลี่ยงการถูผิวในขณะที่แห้ง เพราะมันจะยิ่งเป็นวิธีที่เพิ่มโอกาสในการทำให้ผิวหนังลอกมากขึ้น

3.ให้ความชุ่มชื้นในบริเวณที่ถูกแดดเผา หลังจากที่ทำการอาบน้ำเสร็จแล้ว ควรให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวด้วยมอยเจอไรเซอร์ ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับผิวที่ถูกแสงแดดเผา

4.ดื่มน้ำให้มากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว และป้องกันผิวหนังลอก เพราะแสงแดดทำให้ผิวหนังเกิดการคลายน้ำของผิว ดังนั้นการดื่มน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการักษาระดับน้ำในผิวเอาไว้

5.ไม่ควรรบกวนผิว เมื่อถูกแดดเผามักจะเกิดอาการคันขึ้น แต่การเกาจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ รวมไปถึงความเสี่ยงในต่อผิวหนังลอก ถ้าหากคุณรู้สึกคัน สามารถบรรเทาอาการดังกล่าวได้

6.อย่าลืมทาครีมกันแดด พยายามใช้ครีมกันแดดทุกครั้งก่อนที่จะออกจากบ้านในช่วงกลางวัน ให้กลายเป็นกิจวัตรประจำวัน ครีมกันแดดนอกจากจะช่วยลดความรุนแรงต่อการถูกแดดเผาแล้ว

การดูแล และป้องกันผิวจากแสงแดด จะช่วยทำให้ผิวหนังลอกของคุณไม่หลุดลอกออกมากจนเกินความจำเป็น เพราะผิวหนังใหม่ด้านล่างนั้นมีความบอบบางสูง ดังนั้นถ้าหากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรที่จะเร่งการผลัดเซลล์ผิวอย่างไม่เหมาะสม เพื่อสุขภาพของผิวที่ดีที่สุดของคุณอย่างยาวนาน

24 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:47:00

Image-empty-state_edited.jpg

สิวมีกี่ประเภท และ ดูแลสิวอย่างไร

สิว มีแบบไหนบ้าง
รู้จัก 6 ประเภทของสิวที่ควรรู้ พร้อมแนะวิธีรักษาสิวให้ตรงจุด

1. สิวหัวขาว (Whiteheads)
สิวหัวขาว หรือสิวอุดตันหัวปิด มีลักษณะตุ่มนูนสีขาวอยู่ภายใต้ผิวหนัง สามารถพัฒนาเป็นสิวหนองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ สาเหตุของการเกิดสิวหัวขาวส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เครื่องสำอาง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ

2. สิวหัวดำ (Blackheads)
เป็นสิวอุดตันแบบเปิด มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีดำเล็ก ๆ มักจะพบบริเวณทีโซน คือ หน้าผาก จมูก และคาง สีดำของหัวสิวไม่ได้เกิดจากสิ่งสกปรก แต่เกิดจากรูขุมขนอุดตันเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และน้ำมันที่อยู่บนผิวหน้าของเราทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จึงทำให้หัวสิวกลายเป็นสีดำนั่นเอง

วิธีรักษาสิวหัวขาว และสิวหัวดำ : ใช้วิธีดูแลรักษาร่วมกันได้ เนื่องจากสิวทั้ง 2 ประเภทมีลักษณะเป็นสิวอุดตันเหมือนกัน โดยให้ทายาที่มีส่วนผสมของ Benzoyl peroxide ที่จะช่วยลดการอุดตัน พร้อมเปิดรูขุมขนให้สิวอุดตันหลุดออกง่ายขึ้น หรือสามารถกดหัวสิวออกเองได้

3. สิวที่มีตุ่มนูนแดง (Papule)
สิวแบบนี้มีลักษณะเป็นตุ่มแดงขนาดเล็ก ไม่มีหัวสิว แต่สามารถพัฒนาเป็นสิวอักเสบได้ สิวชนิดนี้เกิดจากแบคทีเรียอุดตันรูขุมขน ระบบภูมิคุ้มกันจึงต้องสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบ และบวมแดงขึ้นมา

วิธีรักษาสิวที่มีตุ่มนูนแดง : เนื่องจากเป็นสิวไม่มีหัว ทำให้ไม่สามารถกดออกได้ แนะนำให้ใช้ยาที่มีส่วนผสมของ Benzoyl peroxide ทาลงบนตุ่มสิว เนื่องจากมีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียได้

4. สิวหัวหนอง (Pustule)
การอุดตันของรูขุมขนไม่ได้ทำให้เกิดสิวหัวดำเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อรูขุมขนเกิดการอุดตันมาก ผิวจะเริ่มบวม จนเกิดตุ่มหนองในที่สุด และอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสิวประเภทนี้ก็คือการติดเชื้อของรูขุมขน โดยตุ่มสิวจะมีลักษณะเป็นตุ่มหนองบวมแดง และไวต่อการสัมผัส

วิธีรักษาสิวหัวหนอง : สามารถใช้แผ่นดูดสิวดูดซับหนองจากหัวสิวได้ แต่ไม่ควรใช้มือบีบ หรือกดออกเอง เพราะจะทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นได้ง่าย หากรักษาแล้วไม่ดีขึ้น แนะนำควรพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยเฉพาะจะดีกว่า

5. สิวอักเสบ (Nodular Acne)
เมื่อแบคทีเรียเข้าไปอยู่ในรูขุมขนที่มีเซลล์ผิวที่ตายแล้ว บวกกับความมันบนผิว อาจทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงใต้ผิวหนังเป็นบริเวณกว้าง อันเป็นสาเหตุของสิวอักเสบ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นตุ่มแข็งสีแดง และเป็นสิวไม่มีหัว

วิธีรักษาสิวอักเสบ : สิวอักเสบไม่สามารถกดออกเองได้ แต่บรรเทาการอักเสบได้โดยหาซื้อยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) มาทา หากอาการอักเสบไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยเฉพาะเพื่อรักษา หรือรับยาปฏิชีวนะ เพราะถ้ารักษาผิดวิธีอาจทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงขึ้น และทิ้งรอยสิวขนาดใหญ่ไว้ให้ปวดใจ

6. สิวหัวช้าง (Cystic Acne)
แค่ชื่อก็รู้เลยว่าต้องมีขนาดใหญ่มากแน่ ๆ โดยอาการจะเริ่มจากเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ จากนั้นจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเป็นก้อนแข็ง คล้ายซีสต์ขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยหนอง เพราะเกิดจากการอักเสบรุนแรงในรูขุมขนจึงทำให้มีอาการเจ็บปวดมากเมื่อสัมผัส เชื่อได้เลยว่าไม่มีใครอยากเป็นสิวหัวช้างแน่นอน

วิธีรักษาสิวหัวช้าง : ควรไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยเฉพาะ ไม่สามารถรักษาเองได้เพราะเป็นสิวที่มีขนาดใหญ่ และเกิดจากการอักเสบอย่างรุนแรง

18 พฤษภาคม 2563 เวลา 09:56:54

Image-empty-state_edited.jpg

ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกเป็นยาประเภทใด?

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก (topical steroids) ที่รู้จักกันทั่วไปนั้น เป็นยาในกลุ่มคอร์ติโค สเตียรอยด์ (corticosteroids) ยาเหล่านี้เป็นสารสังเคราะห์จำพวกกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและฤทธิ์อื่นๆ เหมือนกับคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนเปลือกนอก ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกนี้มีบทบาทมากในการรักษาโรคผิวหนังที่มีอาการอักเสบและอาการคัน มีรูปแบบต่างๆ ให้เลือกใช้ เช่น ขี้ผึ้ง ครีม โลชั่น โดยยาในรูปแบบครีมใช้กันมากที่สุด

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกมีอะไรบ้าง?

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกสำหรับรักษาโรคผิวหนังมีมากมาย ตัวอย่าง เช่น
Betamethasone dipropionate (ขี้ผึ้ง ครีม)
Betamethasone valerate (ครีม โลชัน)
Clobetasol propionate (ขี้ผึ้ง ครีม โลชัน)
Desoximetasone (ครีม)
Hydrocortisone acetate (ครีม)
Mometasone furoate (ครีม)
Prednisolone (ครีม)
Triamcinolone acetonide (ครีม โลชัน)

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกมีความแตกต่างกันอย่างไร?
ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกมีความแรงแตกต่างกัน ความแรงของยาประเมินจากการออกฤทธิ์ที่ทำให้หลอดเลือดบีบตัวร่วมกับผลที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบความแรงในทางคลินิก ซึ่งความแรงขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ชนิดของตัวยาสำคัญ ชนิดของเกลือ (เอสเทอร์) ปริมาณยา และรูปแบบยา ตัวอย่างเช่น betamethasone มีความแรงมากกว่า hydrocortisone และ betamethasone ชนิดที่เป็นเกลือ dipropionate จะมีความแรงมากกว่าชนิดที่เป็นเกลือ valerate นอกจากนี้ยาในรูปแบบขี้ผึ้งจะช่วยปกคลุมผิวหนัง ลดการสูญเสียน้ำและเพิ่มการดูดซึมตัวยาสำคัญ แต่ยาประเภทขี้ผึ้งทำให้เหนอะหนะผิว ทาเป็นวงกระจายได้ยากและเป็นมันทำให้ล้างออกยาก ผู้ป่วยมักไม่ชอบ ในบรรดายาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกตามที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้น hydrocortisone acetate จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความแรงต่ำ ส่วนยาอื่นจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความแรงปานกลางจนถึงความแรงสูง

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกใช้กับโรคผิวหนังชนิดใด?

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกนำมาใช้รักษาโรคผิวหนังที่มีอาการอักเสบและอาการคัน ตัวอย่างโรคหรือความผิดปกติที่ผิวหนังที่ให้การตอบสนองดีต่อยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก เช่น โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) โรคผิวด่างขาว (vitiligo) โรคผิวหนังอักเสบออกผื่น (eczema) โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) ซึ่งโรคผิวหนังที่ไวต่อยาจะใช้ยาชนิดที่มีความแรงต่ำ ส่วนพวกที่รักษายากจะใช้ยาชนิดที่มีความแรงสูงขึ้น สำหรับกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผลอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การวินิจฉัยโรคคลาดเคลื่อน การติดเชื้อแทรกซ้อน การใช้ยาไม่ถูกต้องรวมถึงการใช้ยาชนิดที่มีความแรงต่ำเกินไปหรือใช้ในขนาดน้อยเกิน ตลอดจนเกิดการแพ้ยาตรงบริเวณที่ทาจนอาจส่งผลให้โรคเป็นรุนแรงขึ้น

อาการไม่พึงประสงค์ของยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก

แม้ว่ายาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกจะค่อนข้างปลอดภัยและไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องการเกิดความชินต่อยาเมื่อใช้เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้หลายอย่างโดยเฉพาะเมื่อใช้ยาที่มีความแรงสูงและใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เป็นอาการที่เกิดเฉพาะที่ มีเป็นส่วนน้อยที่เกิดกับระบบภายในร่างกาย

ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกเป็นยาประเภทใด?
ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก (topical steroids) ที่รู้จักกันทั่วไปนั้น เป็นยาในกลุ่มคอร์ติโค สเตียรอยด์ (corticosteroids) ยาเหล่านี้เป็นสารสังเคราะห์จำพวกกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและฤทธิ์อื่นๆ เหมือนกับคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนเปลือกนอก ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกนี้มีบทบาทมากในการรักษาโรคผิวหนังที่มีอาการอักเสบและอาการคัน มีรูปแบบต่างๆ ให้เลือกใช้ เช่น ขี้ผึ้ง ครีม โลชั่น โดยยาในรูปแบบครีมใช้กันมากที่สุด

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกมีความแตกต่างกันอย่างไร?

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกมีความแรงแตกต่างกัน ความแรงของยาประเมินจากการออกฤทธิ์ที่ทำให้หลอดเลือดบีบตัวร่วมกับผลที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบความแรงในทางคลินิก ซึ่งความแรงขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ชนิดของตัวยาสำคัญ ชนิดของเกลือ (เอสเทอร์) ปริมาณยา และรูปแบบยา ตัวอย่างเช่น betamethasone มีความแรงมากกว่า hydrocortisone และ betamethasone ชนิดที่เป็นเกลือ dipropionate จะมีความแรงมากกว่าชนิดที่เป็นเกลือ valerate นอกจากนี้ยาในรูปแบบขี้ผึ้งจะช่วยปกคลุมผิวหนัง ลดการสูญเสียน้ำและเพิ่มการดูดซึมตัวยาสำคัญ แต่ยาประเภทขี้ผึ้งทำให้เหนอะหนะผิว ทาเป็นวงกระจายได้ยากและเป็นมันทำให้ล้างออกยาก ผู้ป่วยมักไม่ชอบ ในบรรดายาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกตามที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้น hydrocortisone acetate จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความแรงต่ำ ส่วนยาอื่นจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความแรงปานกลางจนถึงความแรงสูง

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกแทรกซึมผ่านผิวหนังได้มากน้อยเพียงใด?

โดยทั่วไปแล้วเพื่อผลการรักษาที่ดีตัวยาควรแทรกซึมผ่านผิวหนังชั้นสตราตัมคอร์เนียม (stratum corneum) ซึ่งเป็นหนังกำพร้าชั้นนอกสุดได้ในระดับความเข้มข้นที่ให้ผลในการรักษา แต่ไม่ต้องการให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบของร่างกายเพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์ของยา โครงสร้างของผิวหนังมีผลต่อการแทรกซึมและการดูดซึมยา การดูดซึมยาผ่านผิวหนังแต่ละแห่งไม่เท่ากัน เช่น การดูดซึมผ่านฝ่ามือหรือฝ่าเท้า (0.1–0.8%) แขนช่วงแรกบริเวณระหว่างข้อศอกกับข้อมือ (1%) ใบหน้า (10%) หนังศีรษะและตามซอกพับ (ราว 4%) เปลือกตาและถุงอัณฑะ (40%) เป็นต้น ด้วยเหตุนี้บริเวณที่มีการดูดซึมดีควรใช้ยาที่มีความแรงต่ำและควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีความแรงสูงรวมถึงพวกที่มีความแรงรองลงมาหากต้องใช้เป็นเวลานาน ส่วนบริเวณฝ่ามือหรือฝ่าเท้าจะใช้ยาที่มีความแรงสูง อย่างไรก็ตาม หากรอยโรคมีบริเวณกว้างควรใช้ยาที่มีความแรงลดลง เพื่อลดปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าระบบของร่างกาย

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกใช้กับโรคผิวหนังชนิดใด?

ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกนำมาใช้รักษาโรคผิวหนังที่มีอาการอักเสบและอาการคัน ตัวอย่างโรคหรือความผิดปกติที่ผิวหนังที่ให้การตอบสนองดีต่อยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก เช่น โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) โรคผิวด่างขาว (vitiligo) โรคผิวหนังอักเสบออกผื่น (eczema) โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) ซึ่งโรคผิวหนังที่ไวต่อยาจะใช้ยาชนิดที่มีความแรงต่ำ ส่วนพวกที่รักษายากจะใช้ยาชนิดที่มีความแรงสูงขึ้น สำหรับกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผลอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การวินิจฉัยโรคคลาดเคลื่อน การติดเชื้อแทรกซ้อน การใช้ยาไม่ถูกต้องรวมถึงการใช้ยาชนิดที่มีความแรงต่ำเกินไปหรือใช้ในขนาดน้อยเกิน ตลอดจนเกิดการแพ้ยาตรงบริเวณที่ทาจนอาจส่งผลให้โรคเป็นรุนแรงขึ้น

อาการไม่พึงประสงค์ของยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก

แม้ว่ายาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกจะค่อนข้างปลอดภัยและไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องการเกิดความชินต่อยาเมื่อใช้เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้หลายอย่างโดยเฉพาะเมื่อใช้ยาที่มีความแรงสูงและใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เป็นอาการที่เกิดเฉพาะที่ มีเป็นส่วนน้อยที่เกิดกับระบบภายในร่างกาย

อาการที่เกิดเฉพาะที่ เช่น
แพ้ยาตรงบริเวณที่สัมผัสยา อาจแพ้ต่อตัวยาสเตียรอยด์หรือสารอื่นในตำรับ
ทำให้แผลที่เป็นอยู่หายช้า
ยากดภูมิคุ้มกันได้ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและรา นอกจากนี้ยาอาจบดบังอาการติดเชื้อจนทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงในภายหลัง
ผิวหนังบริเวณที่ทายาบางลง มีเส้นเลือดฝอยขยาย ผิวแดง ร้อน มีริ้วลาย เหี่ยวลีบ ฟกช้ำง่าย อาจเกิดรอยแผลตรงเป็นบริเวณที่ทายา การทาบริเวณหน้าอาจเกิดผื่นแดงและตุ่มแดงคล้ายสิว นอกจากนี้อาจพบผิวด่างเนื่องจากการที่มีเม็ดสีน้อยลง
อาการที่เกิดกับระบบภายในร่างกาย พบไม่บ่อย อาจพบเมื่อใช้ยาชนิดที่มีความแรงสูงและทาเป็นบริเวณกว้างหรือทาบริเวณผิวหนังเปิด หรือมีการปิดทับบริเวณที่ทา หรือการใช้ในโรคผิวหนังที่เป็นรุนแรง (ซึ่งทำให้ต้องใช้ยาที่มีความแรงสูงและใช้เป็นเวลานาน) เป็นต้น อาการที่พบ เช่น เกิดกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s syndrome) ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะกดการทำงานของต่อมหมวกไต

ข้อแนะนำในการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก
การใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอกมีข้อควรคำนึงในการใช้ยาดังนี้
1.ก่อนใช้ยาต้องมั่นใจว่าผิวหนังบริเวณนั้นไม่เป็นโรคติดเชื้อ
2.ไม่ใช้เพื่อรักษาโรคหน้าแดง (rosacea) ปากแตก สิว โรคผิวหนังที่มีการติดเชื้อ
3.ใช้เฉพาะกับโรคผิวหนังอักเสบที่ตอบสนองดีต่อยาสเตียรอยด์ชนิดที่ใช้ภายนอก
4.ไม่ควรใช้ชนิดที่มีความแรงสูงกับผิวหนังที่บาง เช่น ใบหน้า เปลือกตา ซอกพับ อวัยวะเพศ และผิวทารก รวมถึงบริเวณผิวหนังเปิด เช่น ผิวถลอก เนื่องจากผิวที่บริเวณดังกล่าวจะมีการดูดซึมยาได้มากขึ้น
5.ควรหลีกเลี่ยงการทายาแบบมีสิ่งปิดทับ เนื่องจากการทาแบบนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความคุ้นเคยกับการให้ยาวิธีดังกล่าว
6.ไม่ควรใช้ชนิดที่มีความแรงสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน
7.ยาอาจกดการทำงานของต่อมหมวกไต หากใช้ชนิดที่มีความแรงสูงและใช้เป็นบริเวณกว้าง ดังนั้นจึงควรหยุดใช้ยาเป็นช่วงๆ โดยทั่วไปมักใช้ติดต่อกันไม่เกิน 2 สัปดาห์
8.การใช้ยาที่มีความแรงสูงเป็นเวลานาน หากจะลดขนาดยาควรลดอย่างช้าๆ การลดขนาดยาเร็วเกินไปอาจทำให้โรคกำเริบ
9.หลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์ หากจำเป็นต้องใช้ยาควรเลือกชนิดที่มีความแรงต่ำจนถึงความแรงปานกลางเท่านั้น และใช้เป็นเวลาสั้นๆ

13 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:35:08

Image-empty-state_edited.jpg

รอยแดงจากสิวคืออะไร รักษาได้ด้วย V-Beam laser

รอยแดงจากสิว คืออะไร รักษาได้ด้วย V-Beam laser

ในกรณีที่เกิดในคนผิวคล้ำ บางครั้งจะมีลักษณะเป็นรอยสีน้ำตาลหรือดำร่วมด้วย (Post-inflammatory Hyperpigmentation) และถ้าเราสังเกตดีๆจะพบว่าในรอยแดงหรือรอยคล้ำเหล่านี้ หลายๆแห่งจะมีลักษณะของหนังที่ยุบตัว ลงซึ่งเป็นลักษณะเริ่มแรกของการเกิด รอยแผลเป็นชนิดบุ๋มตามมาอีก

การรักษาสามารถทำได้ โดยการทายาที่มีส่วนผสมของสารที่สามารถทำให้สีจางลง เช่น กรดผลไม้ (AHA, BHA) กรดวิตามิน A (RETINOIC ACID), LICORICE, ARBUTIN, VITAMIN C การทานวิตามิน A, วิตามิน E เพื่อฟื้นฟูสภาพผิวและเร่งการซ่อมแซมเซลผิวหนัง

นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีเลเซอร์ทางการแพทย์เพื่อรักษารอยแดงคล้ำจากสิว เช่น V-Beam ที่ลดการเกิดแผลเป็นสิวและลบเลือน รอยแผลเป็นที่มีอยู่แล้ว โดยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและฟื้นฟูสภาพผิวได้อย่างเป็นธรรมชาตินับเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ การรักษาใช้เวลาเพียง 15-40 นาทีเท่านั้น หลังการรักษามีเพียงรอยแดงจางๆ เล็กน้อยประมาณ 15-20 นาที ก็จะหายไปเอง สามารถแต่งหน้าและกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

9 พฤษภาคม 2563 เวลา 03:35:59

Image-empty-state_edited.jpg

ผื่นแพ้ต่อมไขมัน เซบเดิมหรือเซบเดิร์ม

โรค Seborrheic Dermatitis (เซ็บเดิร์ม) ในภาษาไทยยังไม่มีบัญญัติชื่อโรคนี้โดยเฉพาะ แต่อาจจะมีชื่่อในภาษาไทย
เช่น โรคต่อมน้ำมันอักเสบ, โรคแพ้เหงื่อ แพ้น้ำมัน, โรครังแคที่ใบหน้า สำหรับโรครังแคบนใบหน้าจัดอยใู่นกลุ่ม
โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง ซึ่งเกิดจากสาเหตุจากภายในร่างกายโดยที่มีปัจจัยพันธุกรรมเป็นหลัก มีการกระตุ้นจาก
ปัจจัยภายนอกเกิดได้ทุกช่วงอายุโดยเฉพาะวัยเจริญพันธุ์

ความแตกต่างจากโรคผิวหนังอื่นๆ
โรคเซ็บเดิร์มจะแตกต่างจากโรคผิวหนังอื่นๆ เพราะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดในการเกิดโรคแต่มีการศึกษาการเกิดโรค
จากหลายทฤษฏี เช่น
- เกิดจากน้ำม้นที่ผิวของคนเรา ซ่ึงร่างกายผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อผลิตขึ้นมาแล้ว ผิวหนังของเราเกิดการ
ระคายเคือง พบได้ในบริเวณที่มีต่อมน้ำมันมาก เช่น บริเวณหนังศีรษะ, บริเวณคิ้ว, ข้างจมูก, แก้ม, รักแร้,
สะดือ ฯลฯ บริเวณที่มีต่อมน้ำมันมากจึงพบโรคได้ง่าย
-การเป็นภูมิแพ้ต่อเชื้อเกลื้อน เชื้อรา หากผู้ป่วยมีภูมิแพ้ต่อเชื้อเหล่านี้อาจทำให้ เกิดโรคได้ แต่ไม่ได้หมายถึงจะเป็น
เชื้อเกลื้อน

อาการ
- มีผื่นในบริเวณที่มีต่อมน้ำมันมากในระยะรุนแรงผื่นอาจขยายตัวเป็นบริเวณกว้าง เพราะต่อมน้ำมัน มีอยู่ทั่วร่างกาย
ในผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจจะแยกอาการได้ยากจากโรคผิวหนังอื่นๆ
- มีการอักเสบของผิวหนัง มีอาการแดง ผื่น รู้สึกคันผิวหนัง ลอกเป็นสะเก็ดแผ่นๆ สะเก็ดจะมีลักษณะมันต่างจาก
สะเก็ดของโรคสะเก็ดเงิน ที่มีลกัษณะขาวขุ่นและแห้ง
- บางรายจะมีอาการแสบหากโดนเหงื่อ โดนแสงแดด และมักจะเกิดอาการในบริเวณที่มีต่อมน้ำมันมาก ก่อนบริเวณ
อื่น หรือมีรังแคมากบริเวณศีรษะ แม้จะสระผมเป็นประจำ ก็ยังมีรังแค ซึ่งเป็นไปได้ว่า ไม่ได้เกิดจากความสกปรก
แต่เกิดจากโรคเซ็บเดิร์มที่ทำใหผ้ิวหนังเกิดการลอกผิวหนัง
- บางรายจะเกิดโรคบริเวณระหว่างคิ้ว ในหู หลังหู หลังจมูก รอบปาก ข้อพับ เพราะบริเวณนี้จะมีต่อมน้ำมัน
มากกว่าส่วนอื่น ในรายที่โรคอยู่ในระยะรุนแรงอาจเกิดผื่นได้ท้่วร่างกาย อาการของโรคเซ็บเดิร์มจะมีหลายระดับ เริ่มตั้งแต่การเกิดรังแคบริเวณหนังศีรษะ มีผื่นลอกที่หน้า มีผื่นตามลำตัว มีอาการคัน

การรักษา
- จะใช้ยาในกลุ่มสเตรียรอยด์มีความเข้มข้นต่ำ ในการควบคุมโรคเพื่อใหเ้กิดผลข้างเคียงกับผู้ใช้น้อยที่สุด
- ผู้ป่วยควรควบคุม หลีกเลี่ยง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
- หากเกิดรังแคบริเวณหนังศีรษะจะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้แชมพูที่มีตัวยาควบคุม ช่วยลดการแบ่งตัว ลดอาการคัน

4 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:43:43

Image-empty-state_edited.jpg

Full Name 01

I'm a paragraph. To update me, go to the Data Manager. The Data Manager is where you store and collect data for your site.

1 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:47:48

Image-empty-state_edited.jpg

Full Name 02

I'm a paragraph. To update me, go to the Data Manager. The Data Manager is where you store and collect data for your site.

1 พฤษภาคม 2563 เวลา 04:47:48

bottom of page